LASTEST NEWS

31 ก.ค. 2567เมืองพัทยา รับสมัครพนักงานจ้าง จำนวน 178 ระหว่างวันที่ 1-9 สิงหาคม 2567  31 ก.ค. 2567มาแล้ว!! ลิงก์เว็บไซต์ตรวจสอบรายชื่อ และพิมพ์บัตรประจำตัว สอบใบประกอบวิชาชีพครู ครั้งที่ 2 ปี 2567 30 ก.ค. 2567โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาอังกฤษ เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 2-8 สิงหาคม 2567 30 ก.ค. 2567สพฐ.ผ่านการประเมิน ITA ปี 67 ได้คะแนนสูงสุดใน ศธ. 30 ก.ค. 2567สพฐ.มีหนังสือด่วนที่สุด ! แจ้งการโอนงบประมาณเหลือจ่ายฯ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นฯ สำหรับจ้างเหมาบริการนักการภารโรง คืนส่วนกลาง 30 ก.ค. 2567ร้อง"บิ๊กอุ้ม"-กมธ.สส.ยังยั้ง ศธ.ปรับหลักสูตร-อ้างครูฯลงชื่อคัดค้านเพียบ 30 ก.ค. 2567สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) เปิดรับสมัครวุฒิปริญญาโททุกสาขา เงินเดือน 22,750 บาท ตั้งแต่บัดนี้-20 สิงหาคม 2567 29 ก.ค. 2567ชี้ครู 80% เริ่มเข้าใจการเรียนการสอนแบบ Active Learning 29 ก.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลนางรอง(สังขกฤษณ์อนุสรณ์) รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 9,140 บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ส.ค.2567 29 ก.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ)

การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาโดยใช้หลักการมีส่วนร่วม

usericon

ชื่อเรื่อง    การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาโดยใช้หลักการมีส่วนร่วม
แบบองค์รวมทั้งบ้าน วัด และโรงเรียน (บวร) เพื่อเสริมสร้างอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียน
ในโรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์ เทศบาลเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ผู้วิจัย    กาลสิษฐ์ เพชรคง
ปีการศึกษา        2562
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาโดยใช้หลักการมีส่วนร่วมแบบองค์รวมทั้งบ้าน วัด และโรงเรียน (บวร) เพื่อเสริมสร้างอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนในโรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์ เทศบาลเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐาน แนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาโดยใช้หลักการมีส่วนร่วมแบบองค์รวมทั้งบ้าน วัด และโรงเรียน (บวร) เพื่อเสริมสร้างอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนในโรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์ เทศบาลเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาโดยใช้หลักการมีส่วนร่วมแบบองค์รวมทั้งบ้าน วัด และโรงเรียน (บวร) เพื่อเสริมสร้างอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนในโรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์ เทศบาลเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง 3) เพื่อศึกษาพฤติกรรมด้านอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนในโรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์ เทศบาลเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง จากการใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาโดยใช้หลักการมีส่วนร่วมแบบองค์รวมทั้งบ้าน วัด และโรงเรียน (บวร) และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาโดยใช้หลักการมีส่วนร่วมแบบองค์รวมทั้งบ้าน วัด และโรงเรียน (บวร) เพื่อเสริมสร้างอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนในโรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์ เทศบาลเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง ดำเนินการวิจัยตามกรอบแนวคิดการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานและความต้องการ (Analysis : R1) ขั้นที่ 2 การออกแบบและพัฒนา (Design & Develop : D1) ขั้นที่ 3 นำรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาไปใช้ (Implement : R2) ขั้นที่ 4 การประเมินผล (Evaluation : D2) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ตามลักษณะการเก็บรวบรวมข้อมูล ดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน แนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบ กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลในการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ได้แก่ 1) ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดพัทลุง จำนวน 1 คน 2) ข้าราชการครูบำนาญ จำนวน 1 คน 3) เจ้าอาวาสวัดประดู่หอม จำนวน 1 รูป 4) ผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาลวัดธาราสถิตย์ จำนวน 1 คน 5) รองผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์ จำนวน 1 คน 6) รองผู้อำนวยการ โรงเรียนเทศบาลวัดภูผาภิมุข จำนวน 1 คน และ 7) ครูผู้สอน โรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์ จำนวน 1 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบ กลุ่มตัวอย่างในการตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ ได้แก่ 1) บุคลากรโรงเรียนเทศบาลวัดนางลาด ประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 1 คน และครูผู้สอน จำนวน 11 คน 2) บุคลากรโรงเรียนเทศบาลวัดภูผาภิมุข ประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 1 คน และครูผู้สอน จำนวน 13 คน 3) บุคลากรโรงเรียนวัด นิโครธาราม ประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 1 คน และครูผู้สอน จำนวน 9 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 33 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ระยะที่ 3 การนำรูปแบบไปใช้และการประเมินผลรูปแบบ กลุ่มตัวอย่างในการประเมินพฤติกรรมด้านอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียน ได้แก่ ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 3 คน ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 3 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 109 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 117 คน รวมทั้งสิ้น 232 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) กลุ่มตัวอย่างในการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบ ได้แก่ ครูผู้สอน โรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์ ในปีการศึกษา 2562 จำนวน 80 คน กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของ เคร็จซี่และมอร์แกน และสุ่มตัวอย่างโดยใช้การสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบวิเคราะห์ข้อมูล แบบสอบถามความคิดเห็น แบบประเมินพฤติกรรม และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และใช้สถิติค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน แนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาโดยใช้หลักการมีส่วนร่วมแบบองค์รวมทั้งบ้าน วัด และโรงเรียน (บวร) เพื่อเสริมสร้างอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนในโรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์ เทศบาลเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง พบว่า แนวทางการพัฒนาประเทศควรน้อมนำหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาประเทศ เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและช่วยให้สังคมไทยสามารถยืนหยัดอยู่ได้อย่างมั่นคง พัฒนาประเทศสู่ความสมดุลและยั่งยืน โดยยึดคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา ซึ่งรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชนต้องร่วมมือกันในการจัดการศึกษาทุกระดับ โดยยึดหลักการศึกษาตลอดชีวิต ที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21 ทั้งนี้ การจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ เป็นพันธกิจที่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของสังคมทุกภาคส่วน รัฐจึงต้องให้ความสำคัญและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน สถาบันศาสนา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสถาบันสังคมอื่นในการจัดการศึกษา ดังนั้น การบริหารจัดการสถานศึกษาควรยึดหลักการมีส่วนร่วมแบบองค์รวม
ทั้งบ้าน วัด และโรงเรียน (บวร) ซึ่งเป็นสามสถาบันหลักในชุมชนและเป็นตัวเชื่อมโยงกิจกรรมในชุมชนทั้งมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม มาเป็นกลไกในการบริหารจัดการศึกษาในสถานศึกษาให้มีความมั่นคงและยั่งยืน นอกจากนี้ สถานศึกษาควรเน้นการดำเนินการพัฒนาการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของนักเรียนและวัฒนธรรม ประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น และนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาบูรณาการในการจัดการเรียนการสอนและการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนทั้งในด้านวัตถุ ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านวัฒนธรรม
2. รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาโดยใช้หลักการมีส่วนร่วมแบบองค์รวมทั้งบ้าน วัด และโรงเรียน (บวร) เพื่อเสริมสร้างอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนในโรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์ เทศบาลเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง ที่พัฒนาขึ้น มีชื่อว่า "PODCC Model" ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ ขั้นตอนการบริหารจัดการสถานศึกษา และเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ ขั้นตอนการบริหารจัดการสถานศึกษา มี 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 Planning : P การวางแผน ขั้นที่ 2 Organizing : O การจัดองค์การ ขั้นที่ 3 Doing : D การปฏิบัติการเรียนการสอน ขั้นที่ 4 Coordinating : C การประสานงาน และขั้นที่ 5 Controlling : C การควบคุม ผลการตรวจสอบรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาโดยใช้หลักการมีส่วนร่วมแบบองค์รวมทั้งบ้าน วัด และโรงเรียน (บวร) แบบ "PODCC Model" พบว่า มีความสมเหตุสมผล และโดยภาพรวม รูปแบบมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด
3. พฤติกรรมด้านอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนในโรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์ จากการใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาโดยใช้หลักการมีส่วนร่วมแบบองค์รวมทั้งบ้าน วัด และโรงเรียน (บวร) แบบ "PODCC Model" โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
4. ความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาโดยใช้หลักการมีส่วนร่วมแบบองค์รวมทั้งบ้าน วัด และโรงเรียน (บวร) แบบ "PODCC Model" โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

    
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^