รายงานผลการประเมินโครงการเกษตรพึ่งตนเอง
ชื่อเรื่อง : รายงานผลการประเมินโครงการเกษตรพึ่งตนเอง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านป่าซางเหนือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขต 1
ผู้รายงาน : เอกชัย จันทาพูน
ปีการศึกษา : 2563
รายงานผลการประเมินโครงการเกษตรพึ่งตนเอง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านป่าซางเหนือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขต 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินด้านสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการดำเนินงาน ด้านผลผลิตของโครงการ และประเมินความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการเกษตรพึ่งตนเอง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านป่าซางเหนือ ประชากรที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วย ครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนโรงเรียนบ้านป่าซางเหนือ รวมจำนวนทั้งสิ้น 79 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วย แบบสอบถามความคิดเห็นของครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน โรงเรียนบ้านป่าซางเหนือ แบบสอบถามความคิดเห็นของครู บุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนบ้านป่าซางเหนือ แบบสอบถามผลผลิตด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ แบบสอบถามความพึงพอใจของครู บุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อการดำเนินโครงการเกษตรพึ่งตนเองตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบานปาซางเหนือ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการดำเนินโครงการเกษตรพึ่งตนเอง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบานปาซางเหนือ การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูล ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) แปลผลและนำเสนอในรูปตารางประกอบการบรรยายการประเมินพบว่า
1. ข้อมูลสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นนักเรียน จำนวน 63 คน คิดเป็นร้อยละ 77.42 และครู บุคลากรทางการศึกษา จำนวน 16 คน คิดเป็น ร้อยละ 20.25
2. การประเมินโครงการเกษตรพึ่งตนเอง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านป่าซางเหนือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขต 1 ผลการประเมนโดยรวมและรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านกระบวนการดำเนินงาน ด้านสภาวะแวดล้อม ด้านผลผลิต และด้านปัจจัยนำเข้า ตามลำดับ
3. การประเมินด้านสภาวะแวดล้อม ผลการประเมินพบว่า มีความเหมาะสม มีความสอดคล้อง และเพียงพออยู่ในระดับมาก เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย 3 อันดับแรก คือ วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับเป้าหมายของโครงการ การกำหนดหลักการและเหตุผลของโครงการเศรษฐกิจพอเพียง มีความสอดคล้องกับนโยบายของสํานักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐานและสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา และวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของโครงการ ทำให้เกิดการปลูกฝังคุณลักษณะอันพึงประสงค์แก่ผู้เรียน
3. การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ผลการประเมินพบว่า มีความเหมาะสม มีความสอดคล้อง และเพียงพออยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย 3 อันดับแรก คือ ครูผู้รับผิดชอบกิจกรรมตามโครงการเป็นผู้มีความรู้ความสนใจความสามารถเหมาะสม จํานวนบุคลากรเพียงพอ สําหรับการดําเนินโครงการ ครูและนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการ วัสดุ อุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องใช้ ในการดําเนินโครงการมีความเหมาะสมและเพียงพอการปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการ
4. การประเมินด้านกระบวนการดำเนินงาน ผลการประเมินพบว่า ความเหมาะสม มีความสอดคล้อง และเพียงพออยู่ในระดับ มากที่สุด เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย 3 อันดับแรก คือ ผู้รับผิดชอบ และผู้เกี่ยวข้องโครงการมีความเข้าใจขั้นตอนและวิธีการดําเนินการ การกําหนดระยะเวลาและสถานที่ใน การดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในโครงการเศรษฐกิจพอเพียงมีความเหมาะสม การกําหนดขั้นตอนการจัดทําโครงการเศรษฐกิจพอเพียงมีความเหมาะสม กิจกรรมของโครงการสามารถบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ การประเมินผลการปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง การเผยแพร่และขยายผลการปฏิบัติกิจกรรมสู่ชุมชนมี การดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ
5. การประเมินด้านผลผลิต ผลการประเมินพบว่ากิจกรรมที่มีประสิทธิผลอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย 3 อันดับแรก คือ 1) ผลการดำเนินกิจกรรมปลูกมะนาว ในบ่อซีเมนต์ ทำให้นักเรียนได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์มากขึ้น และนักเรียนแสดงออกถึงความมีวินัย มุ่งมั่นในการทำงาน และมีจิตสาธารณะ 2) การดำเนินกิจกรรมการเลี้ยงสุกร ทำให้นักเรียนแสดงออกถึงความมีวินัย มุ่งมั่นในการทำงาน และมีจิตสาธารณะ และนักเรียนเกิดทักษะกระบวนการคิดจากการปฏิบัติกิจกรรม 3) การดำเนินกิจกรรมการเลี้ยงไก่ไข่ ทำให้นักเรียนได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์มากขึ้น ผู้บริหารให้การส่งเสริมและสนับสนุนดำเนินการโครงการอย่างต่อเนื่อง
5.1 ผลประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการเกษตรพึ่งตนเอง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านป่าซางเหนือ สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 ตามความคิดเห็นของครู บุคลากรกรในภาพรวมในการปฏิบัติกิจกรรมนักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์อยู่ในระดับมาก ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่านักเรียนมีมุ่งมั่นในการทำงาน รองลงมาคือมีจิตสาธารณะ และด้านความมีวินัยตามลำดับ ซึ่งแยกรายละเอียดดังนี้
5.1.1 ด้านความมุ่งมั่นในการทำงาน พบว่านักเรียน มีการปรับปรุงตนเองให้เหมาะสม และมีความอดทนต่องานที่ได้รับมอบหมาย รองลงมา คือนักเรียนรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และนำไปปฏิบัติได้ และนักเรียนมีความเต็มใจในการปฏิบัติกิจกรรม มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย ตามลำดับ
5.1.2 ด้านความมีวินัย พบว่านักเรียนมีระเบียบในการเข้าร่วมกิจกรรมโดยไม่ต้องควบคุมและได้ประพฤติปฏิบัติตนตามข้อตกลงของกิจกรรม รองลงมา คือมีความตรงต่อเวลาและมีระเบียบแบบแผนในการทำกิจกรรม และนักเรียนมีการวางแผนในการทำกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายอย่างเป็นระบบ ตามลำดับ
5.1.3 ด้านจิตสาธารณะ พบว่านักเรียนให้ความร่วมมือในการทำงานร่วมกับผู้อื่น รองลงมา คือ นักเรียนช่วยแก้ไขปัญหาให้กับเพื่อนร่วมงานด้วยกำลังกาย กำลังใจ และนักเรียนดูแลรักษาวัสดุอุปกรณ์ในการทำงานด้วยความเต็มใจตามลำดับ
5.2 ผลการประเมินความพึงพอใจของครู บุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อการดำเนินโครงการเกษตรพึ่งตนเอง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านป่าซางเหนือ ในภาพรวมมีความพึงพอใจ ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า ครู บุคลากรทางการศึกษามีความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการเกษตรพึ่งตนเองตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นไปตามวัตถุประสงค์ รองลงมาคือการจัดกิจกรรมปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์ ทำให้นักเรียนมีความรู้ ทักษะและเจตคติที่ดีในการพึ่งตนเอง และการจัดการเรียนรู้ส่งเสริมให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริง
5.3 ความพึงพอใจของของนักเรียนที่มีต่อการดำเนินโครงการเกษตรพึ่งตนเอง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านป่าซางเหนือในภาพรวมมีความพึงพอใจในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า นักเรียนได้รับการฝึกทักษะการปฏิบัติงานกิจกรรมต่างๆของโครงการเกษตรพึ่งตนเองตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รองลงมาคือนักเรียนได้นำผลผลิตจากโครงการไปประกอบอาหารอย่างถูกหลักโภชนาการและนักเรียนได้เรียนรู้กิจกรรมของโครงการเกษตรพึ่งตนเองตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อย่างมีความสุข นักเรียนสามารถนำไปประกอบอาชีพได้ นักเรียนได้นำความรู้จากสิ่งที่เรียนไปใช้ในชีวิตประจำวันอยู่