กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น
โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น
ผู้วิจัย นางอมราพร บุญให้
ระยะเวลาในการวิจัย ตุลาคม 2561 ถึง มิถุนายน 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นที่มุ่งการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามกรอบการประเมินโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นของโรงเรียนเทศบาลวัดหนองแก (หลวงปู่คำอุปถัมภ์) 2) เพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคามของการบริหารโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นที่มุ่งการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามกรอบการประเมินโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นของโรงเรียนเทศบาลวัดหนองแก (หลวงปู่คำอุปถัมภ์) และ3) เพื่อพัฒนาและประเมินกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นที่มุ่งการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามกรอบการประเมินโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นของโรงเรียนเทศบาลวัดหนองแก (หลวงปู่คำอุปถัมภ์) โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสม โดยมีประชากรที่ใช้ในการประเมินสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ คือ ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 19 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 12 คน รวมทั้งสิ้น 31 คนของโรงเรียนเทศบาลวัดหนองแก (หลวงปู่คำอุปถัมภ์) ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบร่างกลยุทธ์และสนทนากลุ่ม จำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ และแบบประเมินร่างกลยุทธ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเทคนิค PNIModified
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันของการบริหารโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นที่มุ่งการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามกรอบการประเมินโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นของโรงเรียนเทศบาลวัดหนองแก (หลวงปู่คำอุปถัมภ์) มีค่าเฉลี่ยภาพรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นที่มุ่งการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามกรอบการประเมินโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นของโรงเรียนเทศบาลวัดหนองแก (หลวงปู่คำอุปถัมภ์) มีค่าเฉลี่ยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีค่าเฉลี่ยสภาพที่พึงประสงค์สูงกว่าสภาพปัจจุบันทุกด้าน
2. จุดแข็งของการบริหารโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นที่มุ่งการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามกรอบการประเมินโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นของโรงเรียนเทศบาลวัดหนองแก (หลวงปู่คำอุปถัมภ์) ได้แก่ ด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา จุดอ่อนของการบริหารโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นที่มุ่งการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามกรอบการประเมินโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นของโรงเรียนเทศบาลวัดหนองแก (หลวงปู่คำอุปถัมภ์) ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา ด้านการจัดหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โอกาสของการบริหารโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นที่มุ่งการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามกรอบการประเมินโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นของโรงเรียนเทศบาลวัดหนองแก (หลวงปู่คำอุปถัมภ์) ได้แก่ ด้านการเมืองและนโยบายของรัฐ ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม และภาวะคุกคามของการบริหารโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นที่มุ่งการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามกรอบการประเมินโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นของโรงเรียนเทศบาลวัดหนองแก (หลวงปู่คำอุปถัมภ์) ได้แก่ ด้านเทคโนโลยี
3. กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นที่มุ่งการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามกรอบ การประเมินโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นของโรงเรียนเทศบาลวัดหนองแก (หลวงปู่คำอุปถัมภ์) ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์หลัก คือ (1) พัฒนาระบบและกระบวนการบริหารจัดการสถานศึกษาที่มุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน (2) พัฒนาและสนับสนุนกระบวนการจัดทำหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน (3) พัฒนาและสนับสนุนกระบวนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่มุ่งการพัฒนาอย่างยั่งยืน และ(4) ส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนากระบวนการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษาที่มุ่งการพัฒนาอย่างยั่งยืน