LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ โดยใช้โครงงาน

usericon

โครงร่างการวิจัย
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ โดยใช้โครงงาน
ร่วมกับเทคนิคการสืบเสาะหาความรู้เพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
และความสามารถในการสร้างนวัตกรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ผู้วิจัย        นางหทัยกาญจน์ บุญตัน

ปีการศึกษา     2562

หน่วยงาน     โรงเรียนเทศบาล 3 (หล่ายอิงราษฎร์บำรุง)
สังกัดกองการศึกษาเทศบาลเมืองพะเยา
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย

กรอบแนวคิดการวิจัย

    ในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ โดยใช้โครงงานร่วมกับเทคนิคการสืบเสาะหาความรู้เพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการสร้างนวัตกรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผู้วิจัยได้กำหนดกรอบแนวคิดการวิจัยสำหรับการพัฒนารูปแบบ ดังนี้
        1. แนวคิดเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ (Research and Development) โดยใช้กระบวนการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Methods Research) ในการศึกษา เรื่องการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ โดยใช้โครงงานร่วมกับเทคนิคการสืบเสาะหาความรู้เพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการสร้างนวัตกรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 นั้น ผู้วิจัยใช้วิธีดำเนินการวิจัยในลักษณะการวิจัยและพัฒนา (Research and Development)เนื่องจากแนวคิดการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) สามารถนำมาใช้ในการแสวงหาและพัฒนานวัตกรรมการเรียนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้ นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ได้จากการสังเคราะห์แนวคิดของการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) และแนวคิดวิธีการเชิงระบบ (System Approach) ADDIE Model ของ เควินครูส (Kevin Kruse, 2009 : 1-2) และดิกส์ คาร์เร่ (xxx and Carey, 2005 : 1-8) ผู้วิจัยได้นำมาประยุกต์ใช้เป็นกรอบแนวคิด ในงานวิจัยการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ โดยใช้โครงงานร่วมกับเทคนิคการสืบเสาะหาความรู้เพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการสร้างนวัตกรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กำหนดการวิจัยเป็นขั้นตอน 4 ขั้น คือ 1) ขั้นศึกษาวิเคราะห์ (Analysis) = Research : (R1) เป็นการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน 2) ขั้นการออกแบบ (Design) และการพัฒนา (Development) = Development : (D1) เป็นการออกแบบและพัฒนารูปแบบและหาประสิทธิภาพของรูปแบบ 3) ขั้นการนำไปใช้ (Implement) = Research : (R2) เป็นการทดลองใช้รูปแบบ และ4 ) ขั้นการประเมินผล (Evaluation) = Development : (D2) ประเมินประสิทธิผลรูปแบบนอกจากนี้ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Methods Research) ด้วยการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Methods) และเสริมด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Methods) เพื่อตอบคำถามการวิจัยให้ครอบคลุมตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย
        2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ โดยใช้โครงงานร่วมกับเทคนิคการสืบเสาะหาความรู้เพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการสร้างนวัตกรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ การที่ผู้เรียนเป็นผู้สร้างนวัตกรรมขึ้นเองอย่างมีระบบ โดยอาศัยการแสวงหาความรู้ ด้วยการสืบเสาะหาความรู้ และผู้เรียนมีบทบาทสำคัญในการเรียนรู้ผ่านสื่อและเทคโนโลยี ได้ตลอดเวลาทุกสถานที่โดยมีครูทำหน้าที่ แนะนำ ช่วยเหลือ สนับสนุน 2) วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนประวัติศาสตร์ และความสามารถในการสร้างนวัตกรรม 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วย 5 ขั้น คือ (1) ขั้นให้ความสำคัญ (Highlight : H) (2) ขั้นริเริ่มสร้างสรรค์ (Inventive : I) (3) ขั้นขยายความคิด (Stretch : S) (4) ขั้นไตร่ตรองหาข้อสรุป (Thoughtful : T) และ (5) ขั้นให้ผลผลิต (Yield : Y) 4) การวัดและ ประเมินผล 2 ด้าน คือ ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และด้านความสามารถในการสร้างนวัตกรรม 5) เงื่อนไข สำคัญในการนำรูปแบบไปใช้ให้ประสบผลสำเร็จ ประกอบด้วย ผู้เรียนต้องมีความสามารถและความพร้อมในการใช้และเข้าถึงเทคโนโลยี มีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ มีวินัยและมุ่งมั่นในการทำงาน จัดสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการแสวงหาความรู้ของผู้เรียน
        3. แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน โดยแนวคิดที่ส่งผลให้นักเรียนได้ศึกษาและทำกิจกรรมเพื่อค้นพบข้อความรู้ใหม่ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ด้วยตัวของผู้เรียนเอง โดยใช้กระบวนการทางประวัติศาสตร์ อันประกอบด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางประวัติศาสตร์ ตลอดจนการเป็นผู้มีเจตคติทางประวัติศาสตร์ แล้วเสนอผลการศึกษาในรูปแบบการเขียนรายงานโครงงานประวัติศาสตร์แล้วนำผลงานและประสบการณ์ทั้งหมดมาอภิปรายแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดค้น และสรุปผลการเรียนรู้
        4. แนวคิดเทคนิคเกี่ยวกับการสืบเสาะหาความรู้ เป็นการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งมาจากพื้นฐานปรัชญาการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติ “Learning by Doing” เป็นการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ (Constructive Theory) มีองค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้คือคำถามหรือการถามคำถาม (Asking Questions) ซึ่งเป็นหัวใจของการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ในการจัดการเรียนรู้ ผู้เรียนมีบทบาทในการตั้งคำถามและครูมีบทบาทในการให้คำแนะนำวิธีการตั้งคำถามแก่ผู้เรียน และส่งเสริมสนับสนุนกระตุ้นให้ผู้เรียนแสวงหาคำตอบ และตอบคำถามต่าง ๆ โดยมีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคำถาม และวิธีการเก็บข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูลอ้างอิง และสรุปคำตอบของปัญหาหรือประเด็นนั้น โดยครูเป็นผู้ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีการสืบเสาะแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง
        5. แนวคิดเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนประวัติศาสตร์ ผลของการสะสมความรู้ความสามารถทักษะเจตคติทางประวัติศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างประวัติศาสตร์และการเรียนรู้ของผู้เรียนในทุกด้านเป็นสิ่งหนึ่งที่สามารถบ่งบอกผลของการจัดการเรียนรู้ การพิจารณาความรู้ความสามารถทางสติปัญญาของผู้เรียนแล้วยังแสดงถึงคุณค่าของหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ ความรู้ความสามารถของครูผู้สอน โดยการใช้เครื่องมือต่าง ๆ เช่น แบบทดสอบที่เป็นรูปแบบเดียวกัน หรือต่าง
รูปแบบกันก็ได้
        6. แนวคิดเกี่ยวกับนวัตกรรม ความสามารถในการคิดใหม่ แนวคิดใหม่ ที่เกิดจากความคิด ความสามารถนำมาผสมผสานกับเทคโนโลยีมาสร้างสรรค์ โดยอาศัยความรู้ ความชำนาญที่มีอยู่ในตัวของผู้เรียนเป็นแนวทางที่ปฏิบัติใช้ได้จริงในอนาคตโดยอาศัยความรู้ ในทางทฤษฎี ทักษะและเทคโนโลยีมาเป็นพื้นฐานในการสร้างสรรค์นวัตกรรม และมีการประเมินนวัตกรรมโดยใช้การประเมินการทำโครงงานประวัติศาสตร์สามารถประเมินได้จากทุกขั้นตอนของการปฏิบัติโดยสังเกตจากการทำกิจกรรมในกระบวนการเรียนรู้ และการปฏิบัติการทดลองของผู้เรียน ซึ่งสมรรถภาพด้านต่าง ๆ ที่ประเมินได้จากการทำโครงงานประวัติศาสตร์ โดยใช้แบบประเมินนวัตกรรมซึ่งเป็นการประเมินโดยใช้เกณฑ์การประเมินแบบแยกองค์ประกอบย่อย ติดตามและให้การช่วยเหลือในระหว่างทำงาน ผลการประเมินที่ได้เป็นข้อมูลป้อนกลับในการปรับปรุงหรือแก้ไขการปฏิบัติให้ถูกต้องก่อนที่จะทำกิจกรรม ในขั้นตอน มีคุณภาพ มีประสิทธิภาพ
        จากแนวคิดดังกล่าวข้างต้นสามารถสรุปได้เป็นแผนภาพดังต่อไปนี้ ดังแผนภาพที่ 1



ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^