การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงา
ผู้วิจัย นายอนุชิต กุบแก้ว ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาล 1 สุขวิทยากรตั้งตรงจิตร 15 เทศบาลเมืองยโสธร
จังหวัดยโสธร
ปีที่วิจัย พ.ศ. 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ (งานเกษตร) เรื่อง การเพาะเห็ดขอนขาว โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อการประกอบอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย (1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ (งานเกษตร) เรื่อง การเพาะเห็ด ขอนขาว โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อการประกอบอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ (งานเกษตร) เรื่อง การเพาะเห็ดขอนขาว โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อการประกอบอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพ (งานเกษตร) เรื่อง การเพาะเห็ดขอนขาว โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อการประกอบอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (4) เพื่อประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการจัดกิจกรรม การเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ (งานเกษตร) เรื่อง การเพาะเห็ดขอนขาว โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อการประกอบอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล 1 สุขวิทยากรตั้งตรงจิตร 15 เทศบาลเมืองยโสธร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ได้มาโดยวิธีการสุมแบบกลุม (Cluster Random Sampling) จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ (งานเกษตร) เรื่อง การเพาะเห็ดขอนขาว โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อการประกอบอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง การเพาะเห็ดขอนขาว จำนวน 12 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ 4) แบบสังเกตพฤติกรรมทักษะอาชีพ 5) แบบประเมินความพึงพอใจ จำนวน 20 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ค่าเฉลี่ย ( ) และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ร้อยละ และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ (t - test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานสภาพการจัดการศึกษาเพื่อการประกอบอาชีพและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การเพาะเห็ดขอนขาวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ผู้เชี่ยวชาญ ส่วนใหญ่มีความเห็นว่าหลักสูตรและตัวชี้วัดขาดความชัดเจนในการพัฒนานักเรียนให้มีทักษะอาชีพและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การเพาะเห็ดขอนขาวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 การศึกษาเกี่ยวกับทักษะอาชีพมีน้อยเพราะเป็นเรื่องที่ยังใหม่ ทำให้ขาดเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ครูและผู้ปกครองไม่เห็นความสำคัญของทักษะอาชีพเพราะคิดว่านักเรียนยังเล็กยังไม่จำเป็นต้องเรียนรู้ ครูขาดวิธีการและคำแนะนำที่เหมาะสมในการพัฒนาทักษะอาชีพให้แก่นักเรียน
2. รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีชื่อว่ารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ (งานเกษตร) เรื่อง การเพาะเห็ดขอนขาว โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อการประกอบอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นนำ เป็นขั้นการเตรียมตัวให้พร้อม สร้างบรรยากาศให้นักเรียนสนใจใน การทำกิจกรรม เป็นกิจกรรมที่ใช้เชื่อมโยงกับเนื้อหาสาระที่จะเรียนโดยการสนทนาโต้ตอบ ซักถาม และแสดงความคิดเห็น
ขั้นที่ 2 ทบทวนความรูเดิม เป็นขั้นทบทวนเนื้อหาสาระเรื่องที่จะเรียนรู้ โดยใช้คำถามกระตุ้นให้นักเรียนแสดงความคิดเห็น จากประสบการณ์เดิมเชื่อมโยงกับประสบการณ์ใหม่
ขั้นที่ 3 ปรับเปลี่ยนความคิด มี 3 กิจกรรม
ทำความกระจ่างแลกเปลี่ยนเรียนรู เป็นขั้นที่ครูแนะนำวิทยากรภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้นักเรียนทราบ วิทยากรภูมิปัญญาท้องถิ่นเล่าเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของการเพาะเห็ดขอนขาวแต่ละชนิดที่มีในชุมชนและสร้างอาชีพ
การสร้างความคิดใหม่ เป็นขั้นที่ครูนำเสนอเนื้อหาสาระใหม่ที่ต้องการกระตุ้นให้นักเรียนสนใจ เกิดขึ้น เป็นการกระตุ้นเร้าให้นักเรียนคิดหาวิธีทำ คำตอบตามเรื่องที่สอนสืบค้นด้วยสื่อที่เป็นของจริง การศึกษาดูงานแหล่งเรียนรู้ ภาพ เพื่อร่วมกันค้นหาคำตอบของกลุ่มจากการพูดคุยกับ ภูมิปัญญา แลกเปลี่ยนความคิดเห็น พิจารณา ข้อมูลที่ได้รับโดยใช้ประสาทสัมผัสในการสำรวจ สังเกต หรือทดลองและสรุปข้อมูล ซึ่งครูจะเข้าไปช่วยเหลือแนะนำเมื่อนักเรียนเกิดปัญหาหรือต้องการความช่วยเหลือ
ประเมินความคิดใหม่ เป็นขั้นที่นักเรียนนำเสนอผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จากสิ่งที่ค้นพบโดยการออกมาเล่าหน้าชั้นเรียนจัดแสดงผลงานของกลุ่มบนป้ายนิเทศหรือ มุมแสดงผลงาน แลกเปลี่ยน เรียนรู้กับเพื่อนกลุ่มอื่น
ขั้นที่ 4 ขั้นนำความคิดไปใช้ เป็นขั้นที่ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนซักถามความรู้เกี่ยวกับการทำการเพาะเห็ดขอนขาว หรือปัญหาที่นักเรียนพบและต้องการแก้ไขเพื่อนำไปใช้ในคราวต่อไป
ขั้นที่ 5 ทบทวน เป็นขั้นที่ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบย่อยจากเรื่อง การเพาะเห็ดขอนขาวที่นักเรียนได้ลงมือทำ
รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ (งานเกษตร) เรื่อง การเพาะเห็ดขอนขาว โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อการประกอบอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด (มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 4.00- 4.80) และความคิดเห็นของครูผู้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ (งานเกษตร) เรื่อง การเพาะเห็ดขอนขาว โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อการประกอบอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีผลประเมินโดยรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 2.70, S.D. = 0.47)
3. ผลการศึกษารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ (งานเกษตร) เรื่อง การเพาะเห็ดขอนขาว โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อการประกอบอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีทักษะอาชีพและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นหลังจากได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ (งานเกษตร) เรื่อง การเพาะเห็ดขอนขาว โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อการประกอบอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ (งานเกษตร) เรื่อง การเพาะเห็ดขอนขาว โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อการประกอบอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ทำให้นักเรียนมีทักษะอาชีพและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น
4. ผลการประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ (งานเกษตร) เรื่อง การเพาะเห็ดขอนขาว โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อการประกอบอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยมีวัตถุประสงค์ย่อยดังนี้
1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีทักษะอาชีพหลังใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ (งานเกษตร) เรื่อง การเพาะเห็ดขอนขาว โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อการประกอบอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ (งานเกษตร) เรื่อง การเพาะเห็ดขอนขาว โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อการประกอบอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล 1 สุขวิทยากรตั้งตรงจิตร 15 เทศบาลเมืองยโสธร สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ (งานเกษตร) เรื่อง การเพาะเห็ดขอนขาว โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อการประกอบอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก