การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้เทคนิคสืบเสาะหา
โครงงาน เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3ผู้วิจัย ณัฏฐพัชร ธนาเพ็งจันทร์
ปีที่วิจัย 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และเพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้เทคนิคสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับโครงงาน การวิจัยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นตอนการศึกษาวิเคราะห์ และสังเคราะห์แนวคิดที่เกี่ยวข้อง 2) ขั้นตอนการออกแบบและพัฒนารูปแบบ 3) ขั้นการนำรูปแบบไปใช้จริงกับกลุ่มตัวอย่าง และ 4) ขั้นการประเมินผลการใช้รูปแบบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนราษีไศล สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 39 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย รูปแบบการจัดการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหาและแบบวัดเจตคติ การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์โดยการคำนวณหาประสิทธิภาพ (E1/E2) ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
และการทดสอบความแตกต่างของคะแนนโดยใช้ค่าที t - test ผลการวิจัย พบข้อสรุปดังนี้
1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้เทคนิคสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับโครงงาน เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีองค์ประกอบสำคัญ ประกอบด้วย หลักการและแนวคิดของรูปแบบ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน การวัดผลและ การประเมินผล กระบวนการเรียนการสอน มี 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 สำรวจความรู้ (Explore knowledge) ขั้นที่ 2 สำรวจสืบค้น (Explore) ขั้นที่ 3 ขั้นลงมือปฏิบัติ (Practice) ขั้นที่ 4 ขั้นตรวจสอบความเข้าใจ (Check understanding) ขั้นที่ 5 ขั้นสรุปและประเมินผล (Summary and Evaluation) ผลการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด ( = 4.57) และมีคะแนนประสิทธิภาพ เท่ากับ 82.27/81.89
2. ผลการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้เทคนิคสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับโครงงาน เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหา มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียน
มีคะแนนทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีเจตคติต่อการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้เทคนิคสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับโครงงาน เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหา ในระดับดีมาก ( = 4.56)