การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้ร่วมกัน
การวิจัยพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และการเรียนรู้เป็นทีม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ในศตวรรษที่ 21 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานรูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และการเรียนรู้เป็นทีม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ในศตวรรษที่ 21 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และการเรียนรู้เป็นทีม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ในศตวรรษที่ 21 ที่มีประสิทธิภาพ 80/80 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และการเรียนรู้เป็นทีม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ในศตวรรษที่ 21
ในด้านต่าง ๆ ดังนี้ 3.1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ 3.2) เปรียบเทียบความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ 3.3) เปรียบเทียบทักษะการเรียนรู้เป็นทีม 3.4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนหลังเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และการเรียนรู้เป็นทีม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ในศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนเทศบาลวัดกำแพง (อุดมพิทยากร) สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 30 คน
ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม ด้วยวิธีจับฉลากห้องเรียน จากห้องเรียนทั้งหมด 2 ห้องเรียน โดยนักเรียนทุกห้องมีระดับสติปัญญา ความรู้ความสามารถใกล้เคียง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 2) แบบสอบถามความต้องการในการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานสำหรับนักเรียน 3) รูปแบบการสอนแบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้ร่วมกัน 4) แบบประเมินรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้ร่วมกัน 5) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 7 แผน 17 ชั่วโมง 6) แบบสอบถามความพึงพอใจ 8) แบบประเมินความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ 9) แบบประเมินทักษะการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วย t-test แบบ Dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. นักเรียนมีความต้องการในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้ร่วมกัน อยู่ในระดับมาก รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้ร่วมกันมีชื่อ มีองค์ประกอบ 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ปัจจัยนำเข้า 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) กระบวนการจัดการเรียนการสอน 5) การวัดผลประเมินผล และ 6) ปัจจัยนำออก
2. รูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และการเรียนรู้เป็นทีม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ในศตวรรษที่ 21 มีประสิทธิภาพ 83.80/86.50 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80
3. ผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และการเรียนรู้เป็นทีม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ในศตวรรษที่ 21 หลังเรียน พบว่า
3.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และการเรียนรู้
เป็นทีม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ในศตวรรษที่ 21 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.2 ความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และการเรียนรู้เป็นทีม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ในศตวรรษที่ 21 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.3 ทักษะการเรียนรู้เป็นทีมของนักเรียนหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และการเรียนรู้เป็นทีม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ในศตวรรษที่ 21 สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.4 ความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และการเรียนรู้เป็นทีม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ในศตวรรษที่ 21 อยู่ในระดับมาก
สรุปว่า รูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และการเรียนรู้เป็นทีม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ในศตวรรษที่ 21 มีความเหมาะสมสามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาไทยได้