ผลการจัดการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับหนังสือ ป.3_ครูมะเหรียม
แบบฝึกทักษะ ชุด มาตราตัวสะกดหรรษากับปัตตานีบ้านฉัน สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย: นางสาวมะเหรียม โหมดฮา ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
หน่วยงาน: โรงเรียนบ้านเขาตูม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี สังกัดกองการศึกษา ศาสนา
และวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี
ปีที่วิจัย: 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านร่วมกับแบบฝึกทักษะ ชุด มาตราตัวสะกดหรรษากับปัตตานีบ้านฉัน สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ได้แก่ 1) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านร่วมกับแบบฝึกทักษะ ชุด มาตราตัวสะกดหรรษากับปัตตานีบ้านฉัน สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่อง มาตราตัวสะกด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านร่วมกับแบบฝึกทักษะ และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านร่วมกับแบบฝึกทักษะ ชุด มาตราตัวสะกดหรรษากับปัตตานีบ้านฉัน สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบ้านเขาตูม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี สังกัดกองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานีจำนวน 26 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยวิธีการจับสลากโดยใช้ห้องเรียนในการสุ่ม ซึ่งผู้วิจัยเป็นครูประจำวิชากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 5 ชนิด ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านร่วมกับแบบฝึกทักษะ ชุด มาตราตัวสะกดหรรษากับปัตตานีบ้านฉัน สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 26 แผน ๆ ละ 1 ชั่วโมง 2) หนังสือส่งเสริมการอ่านชุด มาตราตัวสะกดหรรษากับปัตตานีบ้านฉัน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 8 เล่ม 3) แบบฝึกทักษะ ชุด มาตราตัวสะกดหรรษากับปัตตานีบ้านฉัน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 8 เล่ม 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และ และ 5) แบบสอบถามวัดความพึงพอของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านร่วมกับแบบฝึกทักษะ ชุด มาตราตัวสะกดหรรษากับปัตตานีบ้านฉัน สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ โดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบค่าที
ผลการวิจัย พบว่า
1. ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านร่วมกับแบบฝึกทักษะ ชุด มาตราตัวสะกดหรรษากับปัตตานีบ้านฉัน สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เท่ากับ 82.92/87.78
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่อง มาตราตัวสะกด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านร่วมกับแบบฝึกทักษะ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านร่วมกับแบบฝึกทักษะ ชุด มาตราตัวสะกดหรรษากับปัตตานีบ้านฉัน สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x-bar=4.07, S.D=0.82)