การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านจับใจความ_ครูมะเหรียม บ้านเขาตูม
เนื้อหาโดยแผนภาพความคิดตามทฤษฎี 5W1H ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย: นางสาวมะเหรียม โหมดฮา ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
หน่วยงาน: โรงเรียนบ้านเขาตูม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี สังกัดกองการศึกษา ศาสนา
และวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี
ปีที่วิจัย: 2562
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านจับใจความและการเขียนสรุปความวิชาภาษาไทย ตามโครงสร้างเนื้อหาโดยแผนภาพความคิดตามทฤษฎี 5W1H ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการสอนอ่านจับใจความและการเขียนสรุปความวิชาภาษาไทย ตามโครงสร้างเนื้อหาโดยแผนภาพความคิดตามทฤษฎี 5W1H ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2)เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนอ่านจับใจความและการเขียนสรุปความวิชาภาษาไทย ตามโครงสร้างเนื้อหาโดยแผนภาพความคิดตามทฤษฎี 5W1H ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3)เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอนอ่านจับใจความและการเขียนสรุปความวิชาภาษาไทย ตามโครงสร้างเนื้อหาโดยแผนภาพความคิดตามทฤษฎี 5W1H ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 4)เพื่อประเมินความคิดเห็นและปรับปรุงรูปแบบการสอนอ่านจับใจความและการเขียนสรุปความวิชาภาษาไทย ตามโครงสร้างเนื้อหาโดยแผนภาพความคิดตามทฤษฎี 5W1H ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนบ้านเขาตูม อำเภอยะรังจังหวัดปัตตานี สังกัดกองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 22 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยวิธีการจับสลากโดยใช้ห้องเรียนในการสุ่ม ซึ่งผู้วิจัยเป็นครูประจำวิชากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 4 ชนิด ดังนี้ 1) แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ การเขียนสรุปความและทักษะการคิดวิเคราะห์ตามโครงสร้างเนื้อหาโดยใช้แผนภาพความคิด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 18 เรื่อง 2) แผนการจัดการเรียนรู้ (รายชั่วโมง)การอ่านจับใจความและการเขียนสรุปความวิชาภาษาไทยตามโครงสร้างเนื้อหาโดยแผนภาพความคิดตามทฤษฎี 5W1H สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4ประกอบการใช้แบบฝึก จำนวน 18 แผน ๆ ละ 1ชั่วโมง จำนวน 18 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดความสามารถการอ่านจับใจความและการเขียนสรุปความวิชาภาษาไทยตามโครงสร้างเนื้อหาโดยแผนภาพความคิดตามทฤษฎี 5W1H ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 แบบอัตนัย จำนวน 6 เรื่อง และ 4) แบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการสอนอ่านจับใจความและการเขียน สรุปความวิชาภาษาไทย ตามโครงสร้างเนื้อหาโดยแผนภาพความคิดตามทฤษฎี 5W1H ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ค่าที และค่าดัชนีประสิทธิผล
ปรากฏผลการวิจัยและพัฒนา ดังนี้
1. สภาพปัจจุบันและความต้องการในการจัดการสอนเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความและการเขียนสรุปความวิชาภาษาไทยตามโครงสร้างเนื้อหาโดยแผนภาพความคิดตามทฤษฎี 5W1H ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ปรากฏผลดังนี้
1.1 สภาพปัจจุบันครูมีการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความและการเขียนสรุปความวิชาภาษาไทยตามโครงสร้างเนื้อหาโดยแผนภาพความคิดตามทฤษฎี 5W1H ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 อยู่ในระดับปานกลาง
1.2 ความต้องการของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านเขาตูม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี สังกัดกองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี จำนวน 5 คน มีความต้องการในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาความสามารถด้านการอ่านจับใจความและการเขียนสรุปความวิชาภาษาไทยในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. การพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนอ่านจับใจความและการเขียนสรุปความวิชาภาษาไทย ตามโครงสร้างเนื้อหาโดยแผนภาพความคิดตามทฤษฎี 5W1H ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ปรากฏผลดังนี้
2.1 ความเหมาะสมของรูปแบบการสอนอ่านจับใจความและการเขียนสรุปความวิชาภาษาไทย ตามโครงสร้างเนื้อหาโดยแผนภาพความคิดตามทฤษฎี 5W1H ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ของผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยมีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2.2 ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงรูปแบบการสอนอ่านจับใจความและการเขียนสรุปความวิชาภาษาไทย ตามโครงสร้างเนื้อหาโดยแผนภาพความคิดตามทฤษฎี 5W1H ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 คือ ปรับปรุงรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการยืดหยุ่นระยะเวลาในการเรียนให้เหมาะสมกับการจัดกิจกรรม และเพื่อให้สอดคล้องกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ครูผู้สอนต้องบริหารเวลาให้เหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอนตามความยาวของเนื้อหา
2.3 ประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนการอ่านจับใจความและการเขียนสรุปความวิชาภาษาไทยตามโครงสร้างเนื้อหาโดยแผนภาพความคิดตามทฤษฎี 5W1H ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 83.47/83.67
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการสอนอ่านจับใจความและการเขียนสรุปความวิชาภาษาไทย ตามโครงสร้างเนื้อหาโดยแผนภาพความคิดตามทฤษฎี 5W1H ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ปรากฏผลดังนี้
3.1 ดัชนีประสิทธิผลของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการสอนการอ่านจับใจความและการเขียนสรุปความวิชาภาษาไทยตามโครงสร้างเนื้อหาโดยแผนภาพความคิดตามทฤษฎี 5W1H ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเท่ากับ 0.7205 หรือคิดเป็นร้อยละ 72.05
3.2 ความสามารถด้านการอ่านจับใจความและการเขียนสรุปความวิชาภาษาไทยตามโครงสร้างเนื้อหาโดยแผนภาพความคิดตามทฤษฎี 5W1H ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4ปีที่ 4 อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01
3.3 ความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนอ่านจับใจความและการเขียนสรุปความวิชาภาษาไทย ตามโครงสร้างเนื้อหาโดยแผนภาพความคิดตามทฤษฎี 5W1H ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 อยู่ในระดับมาก
4. ผลประเมินความคิดเห็นและปรับปรุงรูปแบบการสอนอ่านจับใจความและการเขียนสรุปความวิชาภาษาไทย ตามโครงสร้างเนื้อหาโดยแผนภาพความคิดตามทฤษฎี 5W1H ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด