การพัฒนารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะ
ผ่านกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ของนักเรียน โรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์
สังกัดเทศบาลเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ชื่อผู้วิจัย นายนิษฐิโชค ช่างสาร
ปีที่ทำวิจัย 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ.1).ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 ผ่านกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์ 2) พัฒนารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่.21.ผ่านกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์ 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 ผ่านกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์ 4) ประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 ผ่านกิจกรรม ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์ เกี่ยวกับ 4.1 ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 ผ่านกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ของโรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์ 4.2 ประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 ผ่านกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์ ดังนี้ การแก้ปัญหา การสร้างสรรค์ การสื่อสาร ความร่วมมือ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อกำหนดรูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้จากเอกสารงานวิจัยและความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญจำนวน 7 คน ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบและพัฒนารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งมี 6 องค์ประกอบ ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครูและนักเรียนที่เลือกมาโดยการสุ่มแบบง่าย และ ขั้นตอนที่ 4 หาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ การรับรองรูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ และจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 5 ฉบับ คือ 1) ประเด็นการสนทนากลุ่ม 2) ประเด็นสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ (connoisseurship) 3) แบบประเมินทักษะศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย วิธีการคิด วิธีการทำงาน เครื่องมือในการทำงาน และการดำรงชีวิตในโลก 4) แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ และแบบบันทึกการเรียนรู้ของผู้เรียน และ 5) แบบสอบถามความคิดเห็นของครูที่มีต่อรูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติภาคบรรยาย และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 ผ่านกิจกรรม ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ 4) การวัดและประเมินผล 5) ปัจจัยสนับสนุน 6) เงื่อนไขสำคัญในการนำรูปแบบไปใช้ โดยในกระบวนการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วย 5 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 ออกแบบการเรียนรู้ (Design stage) ขั้นที่ 2 เตรียมความพร้อม (Preparation stage) ขั้นที่ 3 ลงมือปฏิบัติ (Practical stage) ขั้นที่ 4 การนำไปใช้ (Production stage) ขั้นที่ 5 ประเมินผล (Evaluation stage) ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 ผ่านกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ของโรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์ มีความเหมาะสม เป็นไปได้ และเป็นประโยชน์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
2. ประสิทธิผลของรูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 ผ่านกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ดังนี้
2.1 ผู้เรียนที่ผ่านการจัดกระบวนการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ดังกล่าวมีทักษะในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ 1) ความสามารถในการคิดแก้ปัญหา 2) การคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม 3) ความสามารถเกี่ยวกับทักษะการสื่อสาร 3) ทักษะความร่วมมือและการทำงาน เป็นทีม และ 4) การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ อยู่ในระดับมากทุกด้าน
2.2 ผลการประเมินกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า ผู้เรียนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น กิจกรรมโครงงานกลุ่มสาระการเรียนรู้ โครงงานสะเต็มศึกษา กิจกรรมสะเต็มศึกษา กิจกรรม English on Tuesday กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ กิจกรรมกีฬา กิจกรรมสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ กิจกรรมมารยาทไทย เป็นต้น นักเรียนมีความกระตือรือร้นใน การหาความรู้เพิ่มเติมทั้งในและนอกห้องเรียน กล้าแสดงออก มีความมั่นใจ แสดงแนวคิดที่แปลกใหม่ใช้วิธีการคิดหลากหลายในการแก้ปัญหา นอกจากนี้ ผู้เรียนสามารถปรับตัวในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ดี มีความประทับใจที่ได้เรียนรู้และฝึกทักษะรวมทั้งสามารถนำมาเป็นแนวทางในการเรียนรู้ของตนเอง