การพัฒนาการอ่านจับใจความ
SQ4R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย : นางสาวน้ำเพชร เจริญสาริกิจ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาล 3 (อินทรัมพรรย์ บุญประคองพิทยาคม)
ปีที่วิจัย : 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อการอ่านจับใจความโดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อการอ่านจับใจความโดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพ (E1/E2) และประสิทธิผล (E.I.) 3) เพื่อทดสอบประสิทธิภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อการอ่านจับใจความโดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 4) เพื่อประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อการอ่านจับใจความโดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยมีประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครู และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล 3 (อินทรัมพรรย์ บุญประคองพิทยาคม) กองการศึกษาเทศบาลเมืองกำแพงเพชร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 มีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างสำหรับสัมภาษณ์ แบบสอบถามความคิดเห็น แผนการจัดการเรียนรู้ คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ ที่ตรวจสอบหาคุณภาพความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (IOC) และวิเคราะห์ค่าความยาก (P) ค่าอำนาจจำแนก (r) ค่าความเชื่อมั่น (KR – 20) และค่าความเที่ยง ( ) สถิติที่ใช้ ได้แก่ สถิติพื้นฐาน คือ ค่าร้อยละ (P) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติที่ทดสอบสมมติฐาน คือ ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) และค่าประสิทธิผล (E.I.) ค่า t-test ผลการวิจัยพบว่า
1. การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อการอ่านจับใจความโดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมากขึ้นไป
2. การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อการอ่านจับใจความโดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) ตามเกณฑ์ คือ 80/80 และค่าประสิทธิผล (E.I.) ตามเกณฑ์ 0.50 ขึ้นไป
3. การทดสอบประสิทธิภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อการอ่านจับใจความโดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความสำคัญ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
4. การประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อการอ่านจับใจความโดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
4.1 ความสามารถในการอ่านเพื่อจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ที่ได้รับการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อการอ่านจับใจความโดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4.2 ความพึงพอใจต่อการเรียนรู้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อการอ่านจับใจความโดยใช้
วิธีการสอนแบบ SQ4R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
ดังนั้นสรุปได้ว่า การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความโดยใช้วิธีการ
สอนแบบ SQ4R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ช่วยพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญ อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเป็นอย่างมาก เป็นการยกระดับคุณภาพทางการศึกษาอีกด้วย
คำสำคัญ : การพัฒนาการอ่านจับใจความ/วิธีการสอนแบบ SQ4R/การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้