การพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ
โดยใช้เกม เพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้ศึกษา นายวิษณุ ปรีกุล ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
หน่วยงาน โรงเรียนเทศบาล 4 เฉลิมพระเกียรติ
สังกัดเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
กรมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
ปีที่ศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เกม เพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ดำเนินการตามกระบวนการวิจัยและพัฒนา 2 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 สร้างรูปแบบการสอน และตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เกม เพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ขั้นตอนที่ 2 การทดลองใช้รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์แหล่งข้อมูลได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 52 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที่ (t - test dependent) ผลการวิจัย พบว่า
1. รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เกม เพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ผู้วิจัยให้ชื่อว่า “PEKUL Model” มีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือส่วนที่ 1 การแนะนำรูปแบบการสอน ประกอบด้วย หลักการและจุดมุ่งหมาย ส่วนที่ 2 กระบวนการในการสอนประกอบด้วย ขั้นตอนในการจัดการเรียนการสอน 5 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 นำเสนอสถานการณ์ปัญหา (Presentation) ขั้นตอนที่ 2 กิจกรรมเจาะลึกความรู้ (Examining Deeper) ขั้นตอนที่ 3 กิจกรรมจัดการความรู้ (Knowledge Management) ขั้นตอนที่ 4 การใช้ให้เกิดประโยชน์ (Utilize) และขั้นตอนที่ 5 ประเมินความทรงจำระยะยาว (Long-term memory) ส่วนที่ 3 ประเมินผลรูปแบบ
2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ อยู่ในระดับ ดี
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ หลังเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05