การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้การงานอาชีพ สุชาดา ศรีศักดิ์
ผู้วิจัย สุชาดา ศรีศักดิ์
ปีที่วิจัย 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้การงานอาชีพเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา 2) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้การงานอาชีพเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา 3) เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้การงานอาชีพเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนสาธิตองค์การบริหารส่วนจังหวัด1(บ้านท่าเรือมิตรภาพที่ 30) จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้การงานอาชีพ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4)แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าทีแบบไม่อิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้การงานอาชีพเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนประถมศึกษา มีองค์ประกอบคือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดการเรียนรู้และเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ “SRISAK-D Model” 7 ขั้นตอน 1)ขั้นสำรวจค้นหา(Survey : S) 2) ขั้นทบทวนความรู้เดิม(Review : R) 3)ขั้นแจ้งวัตถุประสงค์การเรียน(Practice : P) 4)ขั้นรวบรวม ค้นคว้า แลกเปลี่ยนเรียนรู้(Guided Practice) 5)ขั้นซักถาม วิเคราะห์หาแนวทาง (Group Practice) 6)ขั้นสรุปความรู้(Independent Practice) และ7)ขั้นตัดสินใจ(Evaluation : E) โดยที่รูปแบบการจัดการเรียนรู้การงานอาชีพเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาที่พัฒนาขึ้นมีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 81.96/82.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2. ประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง งานเกษตร ของผู้เรียนหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ย ( = 26.50, S.D = 1.08) สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 2) ผู้เรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหามีค่าเฉลี่ย ( = 16.97,S.D = 1.13) สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 3) ผู้เรียนมีความความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ย( = 4.67, S.D.=0.61) อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด