LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม

การประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงด้วยการมีส่วนร่วม

usericon

ชื่อผลงาน     การประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงด้วยการมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านสะเตง)     
ผู้วิจัย            นายอับดุลซอมะ เจะหลง
ปีการศึกษา        2562

บทคัดย่อ

    การประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียง มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินงาน โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model เพื่อประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้าด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองแกนนำ นักเรียนแกนนำ ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และใช้เป็นกลุ่มเป้าหมายในการวิจัย รวมจำนวน 230 คน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานครูที่ปฏิบัติงานในโครงการเศรษฐกิจพอเพียง ผู้ปกครองแกนนำ นักเรียนแกนนำ ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียนในโครงการ รวมจำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลจำนวน 7 ฉบับ ฉบับที่ 1-4 เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าตามแบบของลิเคิร์ท (Likert) ฉบับที่ 5-6 เป็นแบบบันทึกทักษะการปฏิบัติงาน และแบบบันทึกการประเมินคุณลักษณะนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และฉบับที่ 7 เป็นแบบสัมภาษณ์ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ
ผลการวิจัย พบว่า
        1. ความเหมาะสมด้านบริบทของการประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงด้วยการมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านสะเตง) ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งผ่านเกณฑ์ การประเมิน จากการสัมภาษณ์บุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการ พบว่าโรงเรียนตั้งอยู่ใกล้ริมแม่น้ำปัตตานี มีพื้นที่เหมาะสมในการทำเกษตร สามารถใช้พื้นที่ของโรงเรียนให้เกิดประโยชน์ โดยจัดกิจกรรมฐานการเรียนรู้ เริ่มจากการทำปุ๋ยหมัก ปลูกผักสวนครัวเพื่อเป็นอาหารกลางวัน แล้วได้ขยายกิจกรรมต่างๆ มากขึ้น โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงลงสู่สถานศึกษาและตัวนักเรียน
        2. ความพอเพียงหรือเหมาะสมด้านปัจจัยนำเข้าของการประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงด้วยการมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านสะเตง) ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน จากการสัมภาษณ์บุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการ พบว่า การดำเนินโครงการเศรษฐกิจพอเพียง มีความพร้อมด้านสถานที่ งบประมาณ บุคลากร และผู้บริหารสถานศึกษา
            3. การปฏิบัติด้านกระบวนการของการประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงด้วยการมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านสะเตง) ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งผ่านเกณฑ์ การประเมิน จากการสัมภาษณ์บุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการ พบว่ามีการเตรียมการอย่างดี เป็นไปตามกระบวนการในขั้นวางแผน ขั้นปฏิบัติตามแผน ขั้นประเมินผล และขั้นสรุปรายงานผล โดยเน้นการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย
        4. ผลการประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงด้วยการมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านสะเตง) ด้านผลผลิต มีดังนี้
            4.1 ความพึงพอใจของครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองแกนนำ นักเรียนแกนนำ ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนในโครงการที่มีต่อโครงการเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านสะเตง) ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน
            4.2 ผลการประเมินการปฏิบัติงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามโครงการเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านสะเตง) ในภาพรวมอยู่ในระดับดี ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน
            4.3 ผลการประเมินคุณลักษณะผู้เรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามโครงการเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านสะเตง) ในภาพรวมอยู่ในระดับดี ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน
จากการสัมภาษณ์บุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับผลผลิต พบว่า กิจกรรมตามโครงการสร้างความประทับใจ สร้างความพึงพอใจให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะในการทำงาน รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และเกิดรายได้ให้กับครอบครัว เสริมสร้างคุณลักษณะนิสัยที่ดีตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^