รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมเชาวน์ปัญญาผู้เรียน
โรงเรียนกุดเสลาวิทยาคม
ผู้รายงาน นางณัฏฐ์ธนัน บัวงาม ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนกุดเสลาวิทยาคม
หน่วยงาน โรงเรียนกุดเสลาวิทยาคม ตำบลกุดเสลา อำเภอกันทรลักษ์
จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ
ปีที่ดำเนินโครงการ ปีงบประมาณ 2563
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการส่งเสริมเชาวน์ปัญญาผู้เรียน โรงเรียนกุดเสลาวิทยาคม
มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อประเมินบริบทของโครงการ (Context Evaluation) 2) เพื่อประเมินความเหมาะสมด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) 3) เพื่อประเมินความเหมาะสมด้านกระบวนการดำเนินการของโครงการ (Process Evaluation) 4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการ (Product Evaluation) และ 5) เพื่อประเมินผลกระทบของโครงการ โดยใช้รูปแบบ การประเมินโครงการ แบบซิปป์ (CIPP Model) และการประเมินตัดสินคุณค่าเชิงธรรมชาติ NV Models (Naturalistic Value - Oriented Evaluation) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน คณะกรรมการบริหารโรงเรียน จำนวน 13 คน ครูผู้สอน จำนวน 34 คน ผู้เรียน จำนวน 262 คน และผู้ปกครองผู้เรียน จำนวน 262 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 584 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินได้แก่ 1) แบบสังเคราะห์เอกสาร ใช้เก็บข้อมูลเกี่ยวกับบริบทของโครงการ 2) แบบสัมภาษณ์ ใช้เก็บข้อมูลเกี่ยวกับบริบทของโครงการส่งเสริมเชาวน์ปัญญาผู้เรียน โรงเรียนกุดเสลาวิทยาคม ใช้เก็บข้อมูลเกี่ยวกับการให้ความรู้แก่ บุคลากรครู เรื่องการส่งเสริมเชาวน์ปัญญาผู้เรียน โรงเรียนกุดเสลาวิทยาคม และใช้เก็บข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยเบื้องต้น กระบวนการดำเนินงาน ผลผลิตของโครงการและผลกระทบที่เกิดจากการดำเนินงานแต่ละกิจกรรม จำนวนทั้งหมด 23 ฉบับ 3) แบบสอบถาม ใช้เก็บข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมก่อนการดำเนินงานตามโครงการส่งเสริมเชาวน์ปัญญาผู้เรียน โรงเรียนกุดเสลาวิทยาคม ใช้เก็บข้อมูลเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมเชาวน์ปัญญาผู้เรียน ก่อนและหลัง การอบรมพัฒนาบุคลากรครู เรื่องการส่งเสริมเชาวน์ปัญญาผู้เรียน สำหรับครู และใช้เก็บข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็นที่มีต่อการจัดกิจกรรมส่งเสริมเชาวน์ปัญญาผู้เรียน โรงเรียนกุดเสลาวิทยาคม ด้านปัจจัยเบื้องต้น กระบวนการดำเนินงาน และผลผลิตของแต่ละกิจกรรมย่อย เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวนทั้งหมด 23 ฉบับ
และ 4) แบบประเมิน ใช้เก็บข้อมูลความคิดเห็นที่มีต่อโครงการส่งเสริมเชาวน์ปัญญาผู้เรียน จำนวน 5 ฉบับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (x ̅) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) และการเปรียบเทียบกับเกณฑ์เฉลี่ย
ผลการประเมินโครงการสรุปได้ ดังนี้
1. ผลการประเมินบริบทของโครงการได้แก่ ความต้องการและความจำเป็น ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ ความเป็นไปได้ของโครงการ ความสอดคล้องกับนโยบายหน่วยงานต้นสังกัด โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด
2. ผลการประเมินความเหมาะสมด้านปัจจัยเบื้องต้นได้แก่ ความพร้อมของบุคลากร ความรู้ความเข้าใจ งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ สถานที่ การบริหารจัดการ หน่วยงานที่สนับสนุน ระบบข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด
3. ผลการประเมินความเหมาะสมด้านกระบวนการดำเนินการได้แก่ การวางแผน การดำเนินงานแต่ละกิจกรรมในโครงการ การประเมินผล และการนำผลไปปรับปรุงพัฒนา โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต สรุปได้ดังนี้
4.1 ด้านระดับความรู้ความเข้าใจ สภาพการดำเนินงานตามโครงการส่งเสริม
เชาวน์ปัญญาผู้เรียน โรงเรียนกุดเสลาวิทยาคม โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด
4.2 ด้านคุณภาพกิจกรรมส่งเสริมเชาวน์ปัญญาผู้เรียน โรงเรียนกุดเสลาวิทยาคมโดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด
4.3 ด้านคุณภาพของผู้เรียนโรงเรียนกุดเสลาวิทยาคม หลังได้รับการส่งเสริมเชาว์ปัญญา โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด
4.4 ด้านคุณภาพของสถานศึกษา ตามเกณฑ์การประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน สถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานที่ 5 จัดทำและบริหารหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด
4.5 ความพึงพอใจของ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการบริหารโรงเรียน ครูผู้สอน ผู้เรียนและผู้ปกครองผู้เรียน ที่มีต่อการดำเนินโครงการส่งเสริมเชาวน์ปัญญาผู้เรียน โรงเรียนกุดเสลาวิทยาคม โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด
5. ผลการประเมินผลกระทบของโครงการ ได้แก่ ผลกระทบต่อ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการบริหารโรงเรียน ครูผู้สอน ผู้เรียน และผู้ปกครองผู้เรียน สรุปได้ดังนี้
5.1 ผลกระทบต่อผู้เรียน ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ และได้รับการพัฒนาศักยภาพตนเองตามความถนัดมากขึ้น
5.2 ผลกระทบต่อโรงเรียน และครูผู้สอน คือครูมีศักยภาพในการปฏิบัติงานพิเศษมากขึ้น ครูสามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้ชัดเจนขึ้น ผู้บริหารได้แนวคิดในการส่งเสริมเชาวน์ปัญญาผู้เรียนมากขึ้น โรงเรียนได้รับศรัทธาและความร่วมมือจากทุกภาคส่วน
5.3 ผลกระทบต่อชุมชน ได้รับทราบข่าวสารของโรงเรียน สัมพันธภาพโรงเรียน
กับชุมชนเป็นไปในทางบวก ผู้ปกครอง ให้ความสำคัญต่อการศึกษามากขึ้น ผู้ปกครอง ชุมชน ศรัทธาและไว้วางใจโรงเรียน เกี่ยวกับการส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนที่มี ความแตกต่างระหว่างบุคคล