การพัฒนารูปแบบการบริหารการจัดการศึกษาปฐมวัยสู่มาตรฐานการศึกษา
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ทั่วไป เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารการจัดการศึกษาปฐมวัยสู่มาตรฐานการศึกษา โรงเรียนเทศบาล 3 (เทศบาลสงเคราะห์) และวัตถุประสงค์เฉพาะ 1) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารการจัดการศึกษาปฐมวัยสู่มาตรฐานการศึกษา โรงเรียนเทศบาล 3 (เทศบาลสงเคราะห์) 2) เพื่อศึกษาทดลองใช้รูปแบบการบริหารการจัดการศึกษาปฐมวัยสู่มาตรฐานการศึกษา โรงเรียนเทศบาล 3 (เทศบาลสงเคราะห์)สมมติฐานการวิจัย เพื่อให้เป็นแนวทางในการวิจัยและเป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์ข้อมูลผู้วิจัยได้ตั้งสมมติฐานในการวิจัยไว้ดังนี้ 1) องค์ประกอบของการจัดการศึกษาปฐมวัยสู่มาตรฐานการศึกษา โรงเรียนเทศบาล 3 (เทศบาลสงเคราะห์) เป็นพหุองค์ประกอบ 2) รูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัยสู่มาตรฐานการศึกษา โรงเรียนเทศบาล 3 (เทศบาลสงเคราะห์) มีความสอดคล้องกับกรอบแนวคิดทฤษฎีของการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้
ในการวิจัยครั้งนี้ คือ โรงเรียนเทศบาล 3 (เทศบาลสงเคราะห์) จำนวน 1 โรงเรียน โดยบุคคลที่ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา/หัวหน้างานวิชาการระดับปฐมวัย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอนระดับปฐมวัย และผู้ปกครองระดับปฐมวัย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. องค์ประกอบการบริหารการจัดการศึกษาปฐมวัยสู่มาตรฐานการศึกษา โรงเรียนเทศบาล 3 (เทศบาลสงเคราะห์) ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ คือ 1) การบริหารด้านโครงสร้างการบริหารและหลักการบริหารจัดการ (Administration in structural management) 2) การบริหารด้านการเรียนรู้และวิจัยนวัตกรรมการศึกษาปฐมวัย (Administration in learning educational researching) 3) การบริหารด้านการพัฒนาครูปฐมวัยมืออาชีพ (Administration in professional early childhood teacher developing) 4) การบริหารด้านผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ (Administration in professional school administrator) 5) การบริหาร
ด้านการประสานความร่วมมือเพื่อพัฒนาการศึกษา (Administration in educational developing cooperation) และ 6) การบริหารด้านชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Administration in community of learning)
2. รูปแบบการบริหารการจัดการศึกษาปฐมวัยสู่มาตรฐานการศึกษา โรงเรียนเทศบาล 3 (เทศบาลสงเคราะห์) ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบสำคัญ 6 องค์ประกอบที่มีความถูกต้อง เหมาะสม เป็นไปได้ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งสอดคล้องกับกรอบแนวคิดทฤษฎีของการวิจัย