การพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำที่ตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกด
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ชื่อผู้วิจัย นางสาวอัจฉราภรณ์ ทุมทน
สังกัด โรงเรียนเทศบาลศรีเมืองพลประชานุเคราะห์ เทศบาลเมืองเมืองพล จังหวัดขอนแก่น
ปีที่พิมพ์ 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องการพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำที่ตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำที่ตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำที่ตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำที่ตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาลศรีเมืองพลประชา นุเคราะห์ นักเรียน จำนวน 30 คนได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ มีดังนี้ 1) แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านและเขียนคำที่ตัวสะกด ไม่ตรงมาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 8 แผน 2) ชุดฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำ ที่ตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 4 ชุด 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การอ่านและเขียนคำที่ตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำที่ตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการหาประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำที่ตัวสะกดไม่ตรง
มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า ชุดฝึกทักษะ มี
ประสิทธิภาพ เท่ากับ 85.83/87.50 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำที่ตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกด พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำที่
ตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก