LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม

การพัฒนารูปแบบการสอนเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน

usericon

ชื่อเรื่อง     การพัฒนารูปแบบการสอนเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
     เพื่อสร้างเสริมมโนทัศน์และการคิดเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา
     ปีที่ 4
ผู้วิจัย นางสาวนภาทิพย์ สิทธิชัย
ตำแหน่ง     ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
สถานศึกษา     โรงเรียนเทศบาลบ้านบางเหนียว สำนักการศึกษา เทศบาลนครภูเก็ต
ปีที่วิจัย     2562

บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการสอนเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อสร้างเสริมมโนทัศน์และการคิดเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) พัฒนารูปแบบการสอนเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อสร้างเสริมมโนทัศน์และการคิดเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีประสิทธิภาพ 80/80 3) ทดลองใช้รูปแบบการสอนเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อสร้างเสริมมโนทัศน์และการคิดเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในด้านผลสัมฤทธิ์ของมโนทัศน์และการคิดเชิงสร้างสรรค์ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการสอนเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อสร้างเสริมมโนทัศน์และการคิดเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 4) ประเมินผลรูปแบบการสอนเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อสร้างเสริมมโนทัศน์และการคิดเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในด้านความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการสอนเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อสร้างเสริมมโนทัศน์และการคิดเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/4 โรงเรียนเทศบาลบ้านบางเหนียว ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 51 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบประเมินความต้องการพื้นฐานเพื่อการจัดการเรียนรู้ รายวิชาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ว14101 2) แบบสัมภาษณ์ครูเพื่อรวบรวมแนวคิดในการจัดกิจกรรมรูปแบบการสอน 3) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อสร้างเสริมมโนทัศน์และการคิดเชิงสร้างสรรค์ 4) แบบวัดผลสัมฤทธิ์เพื่อสร้างเสริมมโนทัศน์และการคิดเชิงสร้างสรรค์ 5) แบบสัมภาษณ์ 6) แบบประเมินการคิดและการแก้ปัญหาตามสภาพจริง 7) แบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t-test) แบบ Dependent Samples และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

    ผลการวิจัยพบว่า
    1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวมแล้ว นักเรียนมีความต้องการพัฒนาทักษะ การคิดแก้ปัญหา ได้แก่เนื้อหาในหนังสือวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 รายวิชาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ว14101 และเนื้อหาที่สอดคล้องกับหลักสูตรโรงเรียนเทศบาลบ้านบางเหนียว ระดับประถมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2560 (ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้แก่ 1) การสำรวจข้อมูล 2) การรู้จักซอฟต์แวร์ตารางทำงาน 3) การสร้างตารางทางเลือกและการตัดสินใจเกี่ยวกับการซื้อสินค้า 4) การสร้างทางเลือกและตัดสินใจเกี่ยวกับเส้นทางและสถานที่เที่ยว 5) แผนภูมิรูปภาพ 6) แผนภูมิวงกลมและแผนภูมิแท่ง จากการสัมภาษณ์ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) สรุปข้อมูลสอดคล้องกันว่า นักเรียนไม่มีความรู้ความเข้าใจในการเรียนเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาตอนต้น ทำให้ขาดความกระตือรือร้นในการเรียนจนไม่สามารถพัฒนามโนทัศน์และการคิดเชิงสร้างสรรค์ได้ การจัดการสอนด้วยรูปแบบการสอน ALICE Model นี้ ช่วยส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ สามารถพัฒนามโนทัศน์และการคิดเชิงสร้างสรรค์เพิ่มขึ้น
    2. ผลการพัฒนารูปแบบการสอนเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อสร้างเสริมมโนทัศน์และการคิดเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีชื่อเรียกว่า รูปแบบการสอน ALICE Model มีองค์ประกอบดังนี้ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กระบวนการจัดกิจกรรม และสิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ได้แก่ ระบบสังคม หลักการตอบสนอง และสิ่งสนับสนุน มีขั้นตอนการสอน 5 ขั้น ดังนี้ 1) ขั้นเร้าความสนใจ (Activating) 2) ขั้นเรียนรู้ (Learning) 3) ขั้นตรวจสอบข้อเท็จจริง (Investigating) 4) ขั้นสรุปและเสนอผลงาน (Concluding) 5) ขั้นประเมินผล (Evaluating) ซึ่งรูปแบบการสอนนี้ได้รับการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน ให้ความเห็นว่าอยู่ในระดับดี แสดงว่ารูปแบบการสอนมีความสอดคล้องกับหลักการของรูปแบบการสอน และแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ที่มีคุณภาพอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด และนำรูปแบบการสอนไปใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4/4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.89/83.33
    3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการสอน ALICE Model ที่พัฒนาขึ้น สามารถสร้างเสริมมโนทัศน์และการคิดเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 นักเรียนมีความสนใจกระตือรือร้นในการเรียนรู้ร่วมกันทั้งงานรายบุคคลและงานกลุ่ม อย่างตั้งใจ ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรมเป็นอย่างดี พบว่า ผลการเรียนรู้ความสามารถด้านมโนทัศน์และการคิดเชิงสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05
    4. ผลการประเมินรูปแบบการสอนเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อสร้างเสริมมโนทัศน์และการคิดเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่าความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการสอนเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X = 4.46 , S.D. = 0.61)
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^