การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ การถ่ายทอดล
ชื่อเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ เรื่องการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ Active Learning
ผู้ศึกษาวิจัย นางกาญจนา ธนะขว้าง
ปีการศึกษา 2563
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ Active Learning ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ Active Learning โรงเรียนท่าวังผาพิทยาคม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 40 คน ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกัน การกำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็น โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างตามสะดวก (บุญชม ศรีสะอาด. 2545) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบทดสอบก่อนเรียน แบบทดสอบหลังเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) และหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) สรุปผลการวิจัย ดังนี้
ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังการเรียน ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ Active Learning วิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
พบว่า นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 24.35 คิดเป็นร้อยละ 80.58 สูงกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 11.43 คิดเป็นร้อยละ 38.08 ซึ่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเท่ากับ 12.73 คิดเป็นร้อยละ 42.42 แสดงให้เห็นว่าการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ Active Learning สามารถส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนดีขึ้น
2. ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้หลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ Active Learning วิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
พบว่า นักเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนท่าวังผาพิทยาคม มีความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ Active Learning วิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.19 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงจากมากไปหาน้อย พบว่า มีโอกาสอธิบายหรืออภิปรายเนื้อหาในชั้นเรียนทำให้เข้าใจมากขึ้นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.59 ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.14