การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบ E A T ร่วมกับการใช้กลวิธี เล่า เรีย
เพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาสื่อสาร สาหรับเด็กชั้นอนุบาล 3
ผู้วิจัย นางสาวพรทิวา ชุติมันตานนท์
หน่วยงาน โรงเรียนเทศบาล ๔ (เพาะชา) สังกัดสานักการศึกษา เทศบาลนครนครราชสีมา
อาเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
ปีที่ทาวิจัย 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้
แบบ E-A-T ร่วมกับการใช้กลวิธี เล่า เรียน เล่น 2) เพื่อสร้างรูปแบบและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบ
การเรียนรู้แบบ E-A-T ร่วมกับการใช้กลวิธี เล่า เรียน เล่น 3) เพื่อศึกษาการใช้รูปแบบการเรียนรู้
แบบ E-A-T ร่วมกับการใช้กลวิธี เล่า เรียน เล่น และ 4) เพื่อประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการเรียนรู้
แบบ E-A-T ร่วมกับการใช้กลวิธี เล่า เรียน เล่น ดาเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษา
ปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ จากการสนทนากลุ่มครูที่สอนระดับปฐมวัย
และครูที่รับผิดชอบงานวิชาการ และศึกษาจากเอกสาร ขั้นตอนที่ 2 สร้างรูปแบบและตรวจสอบ
คุณภาพรูปแบบการเรียนรู้ และจัดทาแผนการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการเรียนรู้ที่สร้างขึ้น
โดยปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ และทดลองใช้เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาผลการใช้รูปแบบ
รูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นกับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นเด็กชั้นอนุบาล 3 โรงเรียนเทศบาล ๔ (เพาะชา)
สังกัดสานักการศึกษา เทศบาลนครนครราชสีมา ปีการศึกษา 2563 จานวน 30 คน จานวน 1 ห้องเรียน
จัดการทดลองโดยให้กลุ่มตัวอย่างได้เรียนรู้ตามแผนการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการเรียนรู้
แบบ E-A-T ร่วมกับการใช้กลวิธี เล่า เรียน เล่น 6 หน่วยประสบการณ์ รวม 28 ครั้ง ครั้งละประมาณ
30 นาที ทาการประเมินผลความสามารถในการใช้ภาษาสื่อสารทั้งก่อนและหลังการจัดประสบการณ์
ด้วยแบบประเมินความสามารถในการใช้ภาษาสื่อสารสาหรับชั้นอนุบาล 3 ที่สร้างขึ้น ขั้นตอนที่ 4
ประเมินผลรูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นโดยการสอบถามจากครูผู้ใช้และผู้เกี่ยวข้อง และประเมิน
แนวโน้มพัฒนาการความสามารถในการใช้ภาษาสื่อสารของกลุ่มตัวอย่างเมื่อเวลาผ่านไป 6 สัปดาห์
ด้วยวิธีการประเมินซ้า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน Dependent sample t-test, การวิเคราะห์พัฒนาการด้วยการวัดอัตราพัฒนาการเฉลี่ย
ฐานนิยม ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การสรุปเป็นรายประเด็น ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาปัญหาและความต้องการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้พบว่า เด็กมีความสามารถ
ในการใช้ภาษาสื่อสารระดับค่อนข้างต่าถึงปานกลาง ควรได้รับการพัฒนาเพิ่มขึ้น รูปแบบการเรียนรู้
เพื่อพัฒนาการใช้ภาษาสื่อสารที่เหมาะสม ควรมีขั้นตอนไม่ซับซ้อน มีกลวิธีการจัดกรรมที่เป็นรูปแบบ
ชัดเจน เน้นให้เด็กได้พูดสนทนาโต้ตอบ ฝึกทากิจกรรมที่ชอบ ฝึกการอ่าน เรียนรู้ผ่านการเล่น มีวิธีการ
วัดและประเมินผลความสามารถในการใช้ภาษาสื่อสารที่ง่ายและชัดเจน
2. รูปแบบการการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น ประยุกต์จากการนาแนวคิดพัฒนาการเรียนรู้ทางภาษา
รูปแบบการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติ และกลวิธีการจัดกิจกรรมเรียนรู้ที่นิยมใช้กับเด็กปฐมวัยมาบูรณาการ
เป็นรูปแบบใหม่ ชื่อว่า “การเรียนรู้แบบ E-A-T ร่วมกับการใช้กลวิธี เล่า--เรียน--เล่น” มีองค์ประกอบ 5
องค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหาการจัดประสบการณ์ ขั้นตอนกิจกรรม และการวัดและ
ประเมินผล กิจกรรมการเรียนรู้มี 3 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นนา (Engagement: E) เป็นขั้นเตรียมความพร้อม
ทบทวนความรู้เดิมเชื่อมโยงประสบการณ์ใหม่ 2) ขั้นเรียนรู้ลงมือทา (Active Learning: A) เป็นขั้น
ทากิจกรรมตามกลวิธี คือ พูดเล่าเรื่อง ฟังครูเล่า อ่านภาพสัญลักษณ์ ทากิจกรรมที่เด็กชอบ เล่นเกม
การศึกษา และ 3) ขั้นสร้างความรู้ (Transformation: T) เป็นขั้นทบทวนสิ่งที่เรียน ทดสอบความเข้าใจ
และบันทึกผล แผนการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการเรียนรู้ที่สร้างขึ้นมีจานวน 6 หน่วย
3. ผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นกับกลุ่มตัวอย่างพบว่า คะแนนความสามารถ
ในการใช้ภาษาสื่อสารก่อนจัดประสบการณ์มีค่าเฉลี่ย 19.80 คะแนนหลังจัดประสบการณ์มีค่าเฉลี่ย
25.40 จากคะแนนเต็ม 30 ทดสอบด้วยค่าสถิติพบว่าคะแนนหลังจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อนจัด
ประสบการณ์อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลการทดสอบประสิทธิภาพของรูปแบบ (E1/E2)
เท่ากับ 84.54/84.67 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กาหนดไว้ที่ 80/80
4. ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นโดยครูผู้ใช้และผู้เกี่ยวข้อง
ภาพรวมมีความเหมาะสมระดับมากที่สุด เด็กชั้นอนุบาล 3 ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีความสามารถในการใช้
ภาษาสื่อสารตั้งแต่เริ่มจัดประสบการณ์และหลังจากจัดประสบการณ์ 6 สัปดาห์ มีแนวโน้มพัฒนาการ
ดีขึ้นโดยพิจารณาจากค่าอัตราพัฒนาการเฉลี่ยที่เป็นค่าบวก หมายถึงมีพัฒนาการดีขึ้น และได้ปรับปรุง
รูปแบบการเรียนรู้อีกเล็กน้อย เช่น เพิ่มเติมกิจกรรมให้มีหลากหลายและพอเหมาะกับเวลา ปรับปรุง
รูปภาพและให้น่าสนใจ ปรับปรุงแบบประเมินให้ใช้งานง่ายขึ้น แล้วเผยแพร่ในเว็บไซต์และโรงเรียนอื่น ๆ