การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคชันนิซึม
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคชันนิซึม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสร้างสรรค์ชิ้นงานแอนิเมชั่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคชันนิซึม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสร้างสรรค์ชิ้นงานแอนิเมชั่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคชัน นิซึม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสร้างสรรค์ชิ้นงานแอนิเมชั่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคชันนิซึม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสร้างสรรค์ชิ้นงานแอนิเมชั่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคชันนิซึม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสร้างสรรค์ชิ้นงานแอนิเมชั่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ผลการวิจัยพบว่า
1) ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคชันนิซึม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสร้างสรรค์ชิ้นงานแอนิเมชั่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โรงเรียนประทาย มุ่งส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะการคิด ทักษะการใช้เทคโนโลยี ทักษะการใช้ชีวิต เน้นการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน และส่งเสริมความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 และหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนประทาย
2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคชันนิซึม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสร้างสรรค์ชิ้นงานแอนิเมชั่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีองค์ประกอบ 8 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ 4) สาระความรู้ 5) ระบบสังคม 6) หลักการตอบสนอง 7) สิ่งสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ 8) สิ่งส่งเสริมการเรียนรู้ โดยมีขั้นตอนการเรียนรู้ 8 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นสร้างความสนใจ (Generate Interest) 2) ขั้นค้นคว้าและรวบรวมข้อมูล (Seeking and Gathering Information) 3) ขั้นวางแผนและออกแบบการเรียนรู้ (Plan and Design Learning) 4) ขั้นปฏิบัติการเรียนรู้ (Practice Learning) 5) ขั้นจัดองค์ความรู้ (Knowledge Summary) 6) ขั้นนำเสนอผลงาน (Presentation) 7) ขั้นวิเคราะห์และประเมินผล (Analyze and Evaluate) 8) ขั้นเผยแพร่ผลงาน (Publish Results) เมื่อนำไปทดลองใช้เพื่อหาประสิทธิภาพ(E1/E2) ได้ค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 82.63/81.32 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 1
3) ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคชันนิซึม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสร้างสรรค์ชิ้นงานแอนิเมชั่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 ผลปรากฏว่า นักเรียนที่เรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่สร้างขึ้น มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 2.1 และความสามารถในการใช้เทคโนโลยีของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 2.2
4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคชันนิซึม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสร้างสรรค์ชิ้นงาน แอนิเมชั่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด