ปรีดา ศรีโยม
ประสบการณ์แบบบูรณาการ เพื่อพัฒนาความสามารถทางภาษา สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาล
ปีที่ 2 (4-5 ปี) โรงเรียนเทศบาล๑ (ชุมชนบ้านอุดมทอง) เทศบาลตำบลพะตง จังหวัดสงขลา
ชื่อผู้วิจัย ปรีดา ศรีโยม
ตำแหน่งครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาล๑ (ชุมชนบ้านอุดมทอง) เทศบาลตำบลพะตง
จังหวัดสงขลา
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนา
หนังสือภาพ ชุด ภาษาถิ่นใต้-ภาษาไทยมาตรฐาน ประกอบการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ เพื่อพัฒนาความสามารถทางภาษา สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 (4-5 ปี) โรงเรียนเทศบาล๑ (ชุมชนบ้านอุดมทอง) เทศบาลตำบลพะตง จังหวัดสงขลา 2) สร้างและหาประสิทธิภาพของหนังสือภาพ ชุด ภาษาถิ่นใต้-ภาษาไทยมาตรฐาน ประกอบการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ เพื่อพัฒนาความสามารถทางภาษา สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 (4-5 ปี)โรงเรียนเทศบาล๑ (ชุมชนบ้านอุดมทอง) เทศบาลตำบลพะตง จังหวัดสงขลา 3) ทดลองใช้หนังสือภาพ ชุด ภาษาถิ่นใต้-ภาษาไทยมาตรฐาน ประกอบการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ เพื่อพัฒนาความสามารถทางภาษา สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 (4-5 ปี)โรงเรียนเทศบาล๑ (ชุมชนบ้านอุดมทอง) เทศบาลตำบลพะตง จังหวัดสงขลา และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสือภาพ ชุด ภาษาถิ่นใต้-ภาษาไทยมาตรฐาน ประกอบการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ เพื่อพัฒนาความสามารถทางภาษา สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 (4-5 ปี) โรงเรียนเทศบาล๑ (ชุมชนบ้านอุดมทอง) เทศบาลตำบลพะตง จังหวัดสงขลา แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 โรงเรียนเทศบาล๑ (ชุมชนบ้านอุดมทอง) เทศบาลตำบลพะตง จังหวัดสงขลา ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 25 คน ได้มาโดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) หนังสือภาพ ชุด ภาษาถิ่นใต้-ภาษาไทยมาตรฐาน จำนวน 3 เล่ม 2) แผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ เพื่อพัฒนาความสามารถทางภาษา สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 (4-5 ปี) โรงเรียนเทศบาล๑ (ชุมชนบ้านอุดมทอง) เทศบาลตำบลพะตง จังหวัดสงขลา จำนวน 3 หน่วยการเรียนรู้ 15 แผน 3) แบบทดสอบวัดความสามารถทางภาษาด้านการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 (4-5 ปี) จำนวน 20 ข้อ
5) แบบประเมินความพึงพอใจ ของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยหนังสือภาพ ชุด ภาษาถิ่นใต้-ภาษาไทยมาตรฐาน ประกอบการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ เพื่อพัฒนาความสามารถทางภาษา สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 (4-5 ปี) โรงเรียนเทศบาล๑ (ชุมชนบ้านอุดมทอง) เทศบาลตำบลพะตง จังหวัดสงขลา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (x ̅) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าร้อยละ การทดสอบค่า t (Dependent samples T–test) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า
ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนาหนังสือภาพ ชุด ภาษาถิ่นใต้-
ภาษาไทยมาตรฐาน ประกอบการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ เพื่อพัฒนาความสามารถทางภาษา สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 (4-5 ปี) โรงเรียนเทศบาล๑ (ชุมชนบ้านอุดมทอง)
เทศบาลตำบลพะตง จังหวัดสงขลา พบว่า นักเรียน ผู้ปกครอง และครูผู้สอน มีความคิดเห็นว่ามีปัญหาที่พบคือ พัฒนาการการเรียนรู้ในด้านสติปัญญา (ความสามารถทางภาษา) และนักเรียนส่วนใหญ่มีความต้องการต้องการสื่อพัฒนาด้านการใช้ภาษาในด้านการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน
และสื่อที่นักเรียนต้องการก็คือหนังสือภาพและเนื้อหาเป็นเรื่องราวใกล้ตัวพบเห็นอยู่เป็นประจำมาใช้ประกอบการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ ครูผู้สอนต้องการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการในการพัฒนาความสามารถทางภาษา
2. ผลการสร้างและหาประสิทธิภาพหนังสือภาพ ชุด ภาษาถิ่นใต้-ภาษาไทยมาตรฐาน
ประกอบการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ เพื่อพัฒนาความสามารถทางภาษา สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 (4-5 ปี) โรงเรียนเทศบาล๑ (ชุมชนบ้านอุดมทอง) เทศบาลตำบลพะตง จังหวัดสงขลา มีสาระประกอบด้วยเนื้อหาที่ใช้ในการสอน จำนวน 3 เล่ม ประกอบหน่วยการเรียนรู้ 3 หน่วย ได้แก่ หน่วยผักสดรสดี หน่วยของใช้น่ารู้ หน่วยผลไม้แสนอร่อย มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.80/84.40 สูงกว่าเกณฑ์ 70/70 ที่ผู้ศึกษากำหนดไว้
3. ผลการทดลองใช้หนังสือภาพ ชุด ภาษาถิ่นใต้-ภาษาไทยมาตรฐานประกอบการจัด
ประสบการณ์แบบบูรณาการ เพื่อพัฒนาความสามารถทางภาษา สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 (4-5 ปี) โรงเรียนเทศบาล๑ (ชุมชนบ้านอุดมทอง) เทศบาลตำบลพะตง จังหวัดสงขลา ได้ประสิทธิภาพ เท่ากับ 84.80/84.40 สูงกว่าเกณฑ์ 70/70 ที่ผู้วิจัยกำหนดไว้
3.1 ผลการทดสอบความสามารถทางภาษาของนักเรียน ที่ได้เรียนด้วยหนังสือภาพ ชุด
ภาษาถิ่นใต้-ภาษาไทยมาตรฐาน ประกอบการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการสำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 (4-5 ปี) โรงเรียนเทศบาล๑ (ชุมชนบ้านอุดมทอง) เทศบาลตำบลพะตง จังหวัดสงขลา มีคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบหลังการจัดประสบการณ์สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบก่อนจัดประสบการณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีคะแนนเฉลี่ยจากการประเมิน คิดเป็นร้อยละ 84.40 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 70 ที่ตั้งไว้ และนักเรียนร้อยละ 70 มีคะแนนร้อยละ 70 ขึ้นไป
4. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสือภาพ ชุด ภาษาถิ่นใต้-ภาษาไทยมาตรฐาน ประกอบการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 (4-5 ปี) โรงเรียนเทศบาล๑ (ชุมชนบ้านอุดมทอง) เทศบาลตำบลพะตง จังหวัดสงขลา โรงเรียนเทศบาล๑ (ชุมชนบ้านอุดมทอง) เทศบาลตำบลพะตง จังหวัดสงขลา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x ̅=2.92, S.D.=0.25)