การพัฒนารูปแบบการสอนภาษาไทยโดยบูรณาการทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์และเมต
เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้รายงาน โรงเรียนเทศบาลวัดมณีไพรสณฑ์ เทศบาลนครแม่สอด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
ปีที่วิจัย พ.ศ. 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการสอนภาษาไทยโดยบูรณาการทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์และเมตาคอกนิชัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอนภาษาไทยโดยบูรณาการทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์และเมตาคอกนิชัน ประกอบด้วย 2.1) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียน 2.2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการสอนภาษาไทยโดยบูรณาการทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์และเมตาคอกนิชัน วิธีดำเนินการ วิจัยมี 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากแนวคิด ทฤษฎีและเอกสารที่เกี่ยวกับการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการสอนภาษาไทย ระยะที่ 3 การศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอนภาษาไทย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/3 โรงเรียนเทศบาลวัดมณีไพรสณฑ์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ใช้รูปแบบการทดลองกลุ่มเดียวทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (One - group Pretest – Posttest Design) ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ แล้ววิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบที (t) แบบไม่เป็นอิสระ
ผลวิจัยพบว่า
รูปแบบการสอนภาษาไทยโดยบูรณาการทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์และเมตาคอกนิชันเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีองค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน สาระการเรียนรู้ ทักษะกระบวนการ สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ระบบสังคม สิ่งสนับสนุนและหลักการตอบสนอง ซึ่งกระบวนการเรียนการสอน มี 5 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ขั้นแนะนำจูงใจ (Curiosity: C) (2) ขั้นแสวงหาความรู้ (Investigating: I) (3) ขั้นสะท้อนความคิด (Reflection: R) (4) ขั้นประเมินผล (Evaluating: E) (5) ขั้นเชื่อมโยงความรู้ (Relation: R)
2. ผลการใช้รูปแบบการสอนภาษาไทยโดยบูรณาการทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์และเมตาคอกนิชัน พบว่า ความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนภาษาไทยโดยบูรณาการทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์และเมตาคอกนิชัน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการสอนภาษาไทย โดยบูรณาการทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์และเมตาคอกนิชันอยู่ในระดับมาก ( = 4.33, S.D.= 0.71)