LASTEST NEWS

06 ก.ย. 2567โรงเรียนอุตรดิตถ์ดรุณี รับสมัครครูอัตราจ้าง 6 อัตรา เงินเดือน 12,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 11 กันยายน 2567 06 ก.ย. 2567โรงเรียนบ้านสามแพรก รับสมัครครูอัตราจ้าง ทุกสาขาวิชาเอก เงินเดือน 7,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 10 ก.ย.2567 06 ก.ย. 2567เทศบาลเมืองแก่งคอย รับสมัครคัดเลือกครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ไม่ต้องสอบแข่งขัน จำนวน 2 อัตรา วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 16,560 บาท ตั้งแต่วันที่ 9 - 13 กันยายน 2567 05 ก.ย. 2567โรงเรียนเทศบาล 1 (ในระบบสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง) รับสมัครผู้ช่วยครู 10 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 6-11 กันยายน 2567 05 ก.ย. 2567สพป.สุรินทร์ เขต 3 ขอใช้บัญชีครูผู้ช่วย สพป.บุรีรัมย์ เขต 3 จำนวน 6 อัตรา - รายงานตัว12 กันยายน 2567 05 ก.ย. 2567โรงเรียนบ้านบุ รับสมัคร ธุรการโรงเรียน วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่ 8 – 10 กันยายน 2567 05 ก.ย. 2567ระเบียบใหม่ ปี 67 กำหนดคุณสมบัติครู ร.ร.นอกระบบ ต้องมีอย่างน้อย 1 คนต่อห้องเรียน 05 ก.ย. 2567สพฐ.ออกหนังสือ ด่วนที่สุด ประกาศ มาตรการลดภาระการรายงานของสถานศึกษา 04 ก.ย. 2567สพป.ร้อยเอ็ด เขต 3 รับสมัครพนักงานราชการ 2 อัตรา วุฒิม.6 - ปริญญาตรีทุกสาขา ตั้งแต่ 9-13 กันยายน 2567 04 ก.ย. 2567ล่าสุด..ท้องถิ่น มีตำแหน่งว่าง เปิดสอบ 6,238 อัตรา ม.บูรพา ออกข้อสอบ คาดว่า มีผู้สมัครมากกว่า 5แสนคน

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วย PERCEA

usericon

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วย PERCEA Model
และกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียน วิชาเทคโนโลยี 1
(การออกแบบและเทคโนโลยี) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย     พิศน์ฐิศา เอียดเกลี้ยง
ปีที่วิจัย    2561


บทคัดย่อ
    การวิจัยการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วย PERCEA Model
และกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียน วิชาเทคโนโลยี 1 (การออกแบบและเทคโนโลยี) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการสำหรับการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วย PERCAE Model และกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนวิชาเทคโนโลยี 1 (การออก แบบและเทคโนโลยี) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วย PERCAE Model และกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนวิชาเทคโนโลยี 1 (การออกแบบและเทคโนโลยี) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วย PERCAE Model และกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนวิชาเทคโนโลยี 1 (การออกแบบและเทคโนโลยี) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วย PERCAE Model และกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนวิชาเทคโนโลยี 1 (การออกแบบและเทคโนโลยี) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีขั้นตอนการดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 เป็นการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการสำหรับการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วย PERCAE Model และกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนวิชาเทคโนโลยี 1 (การออกแบบและเทคโนโลยี) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ขั้นที่ 2 การพัฒนาเป็นการออกแบบและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วย PERCAE Model และกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนวิชาเทคโนโลยี 1 (การออกแบบและเทคโนโลยี) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ขั้นที่ 3 การวิจัยเป็นการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วย PERCAE Model และกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนวิชาเทคโนโลยี 1 (การออกแบบและเทคโนโลยี) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ขั้นที่ 4 การพัฒนาเป็นการประเมินผลรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วย PERCAE Model และกระบวน การเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนวิชาเทคโนโลยี 1 (การออกแบบและเทคโนโลยี) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล 1 (เยี่ยมเกษสุวรรณ) เทศบาลนครสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 40 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วย PERCAE Model ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย(X ̅ ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าสถิติ (t-test)
    ผลการวิจัยพบว่า
    การศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการสำหรับการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วย PERCAE Model และกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนวิชาเทคโนโลยี 1 (การออกแบบและเทคโนโลยี) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ ดังกล่าว เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับความต้องการของการจัดการศึกษาตามแนวคิด ทฤษฎี พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560) หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สอดคล้องกับการประเมินคุณภาพการศึกษาและความต้องการของผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ ครูผู้สอนวิชาเทคโนโลยี และผู้เชี่ยวชาญ ที่ต้องการให้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้มีความเหมาะสมในการจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียนได้ตรงตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ เพราะรูปแบบการเรียนการสอนมีลำดับขั้นตอนในการการเรียนรู้ที่เข้าใจง่าย มีคำแนะนำหรือวิธีการใช้ที่ชัดเจน บอกบทบาทหน้าที่ของนักเรียนในการเรียนได้เป็นอย่างดี รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้มีคุณภาพและประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด มีความสมบูรณ์ถูกต้องตามหลักวิชาการ เนื้อหามีความเหมาะสมกับวัยของนักเรียน ซึ่งส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
    การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วย PERCAE Model และกระบวน การเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนวิชาเทคโนโลยี 1 (การออกแบบและเทคโนโลยี) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยมีองค์ประกอบ ดังนี้ หลักการ วัตถุประสงค์ สาระการเรียนรู้ รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วย PERCAE Model ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นการจูงใจเพื่อเตรียมความพร้อม (Preparation:P) 2) ขั้นประสบการณ์ (Experience : E) 3) ขั้นสะท้อนความรู้(Reflection of Knowledge : R) 4) ขั้นสร้างความรู้ (Creation of Knowledge:C) 5) ขั้นปฏิบัติ (Action:A) 6) ขั้นประเมินผล (Evaluation :E) กระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือ 5 เทคนิค ได้แก่ เทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (Student Teams-Achievement Division, STAD) 2) เทคนิคการร่วมกันคิดหาคำตอบ (Numbered Heads Together, NHT) 3) เทคนิคจิ๊กซอร์ II (Jigsaw II) 4) เทคนิคกลุ่มร่วมมือกันเรียนรู้ (Group Investigaion, GI) 5) เทคนิคร่วมมือกันเรียน (Learning Together Technique) ระบบสังคม หลักการตอบสนอง ระบบสนับสนุน และเงื่อนไขการนำรูปแบบการเรียนการสอนไปใช้ ผลการตรวจสอบความเหมาะสม/สอดคล้องโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน ด้านความตรงตามโครงสร้าง (Construct Validity) และความเที่ยงตรงของเนื้อหา (Content Validity) และภาษาที่ใช้ ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.80-1.00 ซึ่งมีความเหมาะสมและสอดคล้องกัน ซึ่งแสดงว่ารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วย PERCAE Model และกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนวิชาเทคโนโลยี 1 (การออกแบบและเทคโนโลยี) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
     การทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วย PERCAE Model และกระบวน การเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนวิชาเทคโนโลยี 1 (การออกแบบและเทคโนโลยี) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า
    รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วย PERCAE Model และกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนวิชาเทคโนโลยี 1 (การออกแบบและเทคโนโลยี) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 80.10/87.33 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
    นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วย PERCAE Model และกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนวิชาเทคโนโลยี 1 (การออกแบบและเทคโนโลยี) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
    การะประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วย PERCAE Model และกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนวิชาเทคโนโลยี 1 (การออกแบบและเทคโนโลยี) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน





ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^