การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์
ผู้วิจัย นางกัญญารัตน์ พันธ์สวัสดิ์
ปีที่วิจัย 2562
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม วิชาประวัติศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม วิชาประวัติศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม วิชาประวัติศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และเพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม วิชาประวัติศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 1 ห้อง จำนวน 37 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย โดยใช้แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม รูปแบบการจัดการเรียนรู้ คู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และแบบประเมินความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (จำนวน ร้อยละ) วิเคราะห์เนื้อหา ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีในการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน และการทดสอบค่าทีในการเปรียบเทียบความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม วิชาประวัติศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีองค์ประกอบหลัก 4 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการและแนวคิดของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3) กระบวนการของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ SRAVIP Model มี 6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นกำหนดประเด็นศึกษา ขั้นค้นคว้าและรวบรวมหลักฐาน ขั้นวิเคราะห์หลักฐาน ขั้นประเมินคุณค่าของข้อมูล ขั้นตีความและสังเคราะห์ และขั้นนําเสนอข้อมูล และ 4) การประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนรู้จากผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (x-bar = 4.31, S.D.=0.60)
2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม วิชาประวัติศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม วิชาประวัติศาสตร์ โดยรวม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (x-bar = 4.44, S.D. = 0.55)