การประเมินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ_ผอ พรทิพย์โรงเรียนเทศบาล ๑ สมุย
เทศบาล ๑ วัดละไม โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPPI
ชื่อผู้วิจัย: นางพรทิพย์ แซ่ตัน ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ
ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
สถานที่วิจัย: โรงเรียนเทศบาล ๑ วัดละไม ตำบลมะเร็ต อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี
สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครเกาะสมุย กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
กระทรวงมหาดไทย
ปีที่ทำการวิจัย: 2561
บทสรุปของผู้บริหาร
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) ของโรงเรียนเทศบาล ๑ วัดละไม โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPPI 1) ด้านบริบท 2) ด้านปัจจัยนำเข้า 3) ด้านกระบวนการ 4) ด้านผลผลิต และ5) ด้านผลกระทบโดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPPI ผู้ให้ข้อมูลในการประเมินด้านบริบท ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 1 คน และครูผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 7 คน ผู้ให้ข้อมูลในการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต คือ ครูโรงเรียน เทศบาล ๑ วัดละไม จำนวน 26 คน ผู้ให้ข้อมูลด้านผลผลิต ความรู้ในการจัดการขยะ การปฏิบัติในการ จัดการขยะ และด้านผลกระทบ จิตสำนึกในการรักษาสิ่งแวดล้อม คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1–6 โรงเรียนเทศบาล ๑ วัดละไม จำนวน 559 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ผู้ให้ข้อมูลความพึงพอใจ ในการดำเนินโครงการ คือ ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 80 คน จากเครือข่ายผู้ปกครองโรงเรียนเทศบาล ๑ วัดละไม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม ด้านบริบท มีค่าความเชื่อมั่น .89 แบบทดสอบความรู้ มีค่าความเชื่อมั่น .90 แบบประเมินการปฏิบัติ มีค่าความเชื่อมั่น .88 และแบบประเมินตนเอง มีค่าความเชื่อมั่น .87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบอิสระ
ผลการวิจัย พบว่า
1. ด้านบริบท มีความเหมาะสมสอดคล้องอยู่ในระดับมาก วัตถุประสงค์ของการจัดทำโครงการมีความสอดคล้องกับปัญหาด้านขยะของโรงเรียน โครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) ของโรงเรียนเทศบาล ๑ วัดละไม มีความสอดคล้องกับแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐาน ด้านสิ่งแวดล้อมศึกษา และมีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายของโรงเรียน
2. ด้านปัจจัยนำเข้า บุคลากร วัสดุ อุปกรณ์ งบประมาณ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
3. ด้านกระบวนการ การดำเนินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ ประกอบด้วย
1) กิจกรรม Big Cleaning
2) กิจกรรมการคัดแยกขยะ
3) กิจกรรมน้ำหมักชีวภาพ
4) กิจกรรมขยะรีไซเคิล
5) กิจกรรมการทำปุ๋ยอัดเม็ด
6) กิจกรรมทำแก๊สชีวภาพจากขยะเปียกโดยใช้เครื่อง Cowtec
ทุกกิจกรรมมีคุณภาพการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก
4. ด้านผลผลิต นักเรียนมีความรู้ในการจัดการขยะ สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ร้อยละ 60 การปฏิบัติในการจัดการขยะของนักเรียน อยู่ในระดับปานกลาง ความคิดเห็นของครูที่มีต่อผลสำเร็จของการดำเนินโครงการ อยู่ในระดับมาก
5. ด้านผลกระทบ จิตสำนึกในการรักษาสิ่งแวดล้อมของนักเรียน อยู่ในระดับปานกลาง ความพึงพอใจในการดำเนินโครงการของผู้ปกครอง อยู่ในระดับมาก