LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม

การพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพ

usericon

ชื่อเรื่อง     การพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครอุดรธานี
ผู้วิจัย        นายโมกขสิทธิ์ ดวงกลาง
สถานศึกษา        สำนักการศึกษาเทศบาลนครอุดรธานี
ปีที่พิมพ์        2564

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความจำเป็นในการพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครอุดรธานี 2.เพื่อสร้างการพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครอุดรธานี 3.เพื่อทดลองใช้การพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครอุดรธานี 4.เพื่อประเมินผลการใช้และปรับปรุงการพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครอุดรธานี โดยใช้ครูทั้งหมดในการทดลองใช้รูปแบบฯ ได้แก่ ครูจำนวน 62 คน แยกเป็น ครูผู้นิเทศจำนวน 12 คน ครูผู้รับการนิเทศจำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ แบบประเมิน แบบสังเกตและประเด็นสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (m)ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (s) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

    ผลการวิจัยพบว่า

    1.ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสภาพการดำเนินงานของการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครอุดรธานี ที่ผ่านมาพบปัญหาคล้ายคลึงกับที่ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง คือ ครูขาดความรู้ความเข้าใจ ขาดทักษะในการทำวิจัยในชั้นเรียน ไม่สามารถวิเคราะห์ปัญหาและนำปัญหาที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนมาแก้ไขได้อย่างเป็นระบบ และไม่สามารถนำสิ่งที่ปฏิบัติจริงมาเขียนเป็นรายงานการวิจัยได้ สอบถามระดับปัญหาการทำวิจัยในชั้นเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และระดับความต้องการการทำวิจัยในชั้นเรียนโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก
    2.รูปแบบการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครอุดรธานี ที่สร้างขึ้น ชื่อว่า “CIPDER Model”โดยมีองค์ประกอบที่ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการ และเงื่อนไขการนำรูปแบบการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการไปใช้ โดยมีกระบวนการในการนิเทศ 6 ขั้นตอน คือ
ขั้นตอนที่ 1 การคัดกรองระดับความรู้และทักษะความสามารถด้านการจัดการเรียนรู้และการทำวิจัยในชั้นเรียน ขั้นตอนที่ 2 การให้ความรู้ก่อนการนิเทศ ขั้นตอนที่ 3 การวางแผนการนิเทศ ขั้นตอนที่ 4 การดำเนินการนิเทศ ขั้นตอนที่ 5 การประเมินผลการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการ ขั้นตอนที่ 6 การสะท้อนผลการนิเทศ รูปแบบการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการโดยผู้เชี่ยวชาญโดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
    3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการเพื่อส่งเสริมสมรรถนภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครอุดรธานี พบว่า 1.ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการของครูผู้นิเทศและครูผู้รับการนิเทศหลังการนิเทศสูงกว่าก่อนการนิเทศ 2. ความสามารถในการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการของครูผู้นิเทศโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้นิเทศและครูผู้รับการนิเทศ หลังการนิเทศสูงกว่าก่อนการนิเทศ 4.ทักษะการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้รับการนิเทศโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 5.จิตวิจัยของครูผู้รับการนิเทศโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 6.งานวิจัยในชั้นเรียนที่ผ่านการประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญโดยภาพรวมอยู่ในระดับดี และ 7.ความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครอุดรธานีโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
     4. ผลการประเมินการพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครอุดรธานี ตามความคิดเห็นของครูผู้นิเทศและครูผู้รับการนิเทศพบว่าโดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และจากการสนทนากลุ่มร่วมกันของครูผู้นิเทศ และครูผู้รับการนิเทศ หลังจากเสร็จสิ้นการทดลองใช้รูปแบบผู้ร่วมสนทนากลุ่มให้ความคิดเห็นว่า องค์ประกอบของรูปแบบการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการทุกองค์ประกอบมีความเหมาะสม และสอดคล้องซึ่งกันและกัน เป็นกระบวนการที่มีประโยชน์มาก เป็นกระบวนการที่มีความต่อเนื่องและสัมพันธ์กันของแต่ละขั้นตอน ทำให้เกิดการพัฒนาทั้งด้านการพัฒนางาน และองค์ความรู้ ส่วนองค์ประกอบเชิงเงื่อนไขการนำไปใช้ เป็นองค์ประกอบที่มีความจำเป็นในการพัฒนาครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน ซึ่งครูจะต้องทำด้วยความเต็มใจ เต็มกำลังเต็มความสามารถ ร่วมมือกัน มีความรับผิดชอบและมีมนุษยสัมพันธ์ เป็นกัลยาณมิตรที่ดีต่อกันเป็นสิ่งที่สำคัญมาก นอกจากนี้ผู้บริหารต้องตระหนักถึงความสำคัญของการนิเทศ ให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกและการสร้างขวัญกำลังใจให้กับครู
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^