การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย
และวิธีสอนแบบสตอรี่ไลน์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและความสามารถ
ในการอ่าน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลวัดดอนไก่ดี (สังวรจันทสรราษฎรวิทยา)
ชื่อผู้วิจัย นางสาวแก่นนภา ชูพูล ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาลวัดดอนไก่ดี (สังวรจันทสรราษฎรวิทยา)
ระยะเวลา พฤศจิกายน 2562 (ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562)
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยโดยประยุกต์แนวคิดชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้และวิธีสอนแบบสตอรี่ไลน์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและความสามารถในการอ่าน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลวัดดอนไก่ดี (สังวรจันทสรราษฎรวิทยา) และเพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยโดยประยุกต์แนวคิดชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้และวิธีสอนแบบสตอรี่ไลน์ที่สร้างขึ้น ซึ่งเป็นกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ขั้นตอนการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็นขั้นตอนหลัก 4 ขั้นตอน ดังนี้ คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการ (Research: R/Analysis : A) ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบและพัฒนานวัตกรรม (Develop: D /Design and Develop: D) ขั้นตอนที่ 3 การนำนวัตกรรมไปใช้จริงกับกลุ่มเป้าหมาย (Research: R/Implement: I) และขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลและปรับปรุงนวัตกรรม (Develop: D/Evaluate: E) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/4 โรงเรียนเทศบาลวัดดอนไก่ดี (สังวรจันทสรราษฎร วิทยา) จำนวน 30 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) ระยะเวลาที่ใช้เวลาในการเรียนการสอนตามรูปแบบดังกล่าว 12 ชั่วโมง
ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยโดยประยุกต์แนวคิดชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้และวิธีสอนแบบสตอรี่ไลน์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและความสามารถในการอ่าน ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลวัดดอนไก่ดี (สังวรจันทสรราษฎรวิทยา) ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ การจัดการเรียนการสอนมี 4 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 ขั้นกระตุ้นการคิด (Motivate to thinking: M) ขั้นที่ 2 ขั้นอ่านและตั้งคำถาม (Reading to question: R) ขั้นที่ 3 ขั้นรวมกลุ่มสร้างผลงาน (Teamwork to apply: T) และขั้นที่ 4 ขั้นสรุปและแลกเปลี่ยน (Summarize to exchange: S) และการวัดและประเมินผล 2) ผลการประเมินผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยโดยประยุกต์แนวคิดชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้และวิธีสอนแบบสตอรี่ไลน์ที่พัฒนาขึ้น พบว่า (1) นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยของความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียน X̄= 26.23; S.D.=1.77) สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยของความสามารถในการอ่านหลังเรียน X̄= 25.87; S.D.= 1.81) สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05