LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์แบบปฏิบัติการโดยใช้โปรแกรม

usericon

ชื่อเรื่อง    การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์แบบปฏิบัติการโดยใช้โปรแกรม
    The Geometer's Sketchpad (GSP) ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
    เรื่อง รูปสี่เหลี่ยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย    สิริศักดิ์ อยู่เป็นสุข
ตำแหน่ง    ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
ปีการศึกษา    2562

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบ การเรียนการสอนคณิตศาสตร์แบบปฏิบัติการโดยใช้โปรแกรม The Geometer's Sketchpad (GSP) ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง รูปสี่เหลี่ยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์แบบปฏิบัติการโดยใช้โปรแกรม The Geometer's Sketchpad (GSP) ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง รูปสี่เหลี่ยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพ 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์แบบปฏิบัติการโดยใช้โปรแกรม The Geometer's Sketchpad (GSP) ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง รูปสี่เหลี่ยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์แบบปฏิบัติการโดยใช้ โปรแกรม The Geometer's Sketchpad (GSP) ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง รูปสี่เหลี่ยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียน เทศบาล 5 บ้านห้วยทรายใต้ สังกัดเทศบาลเมืองชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 33 คน ด้วยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เนื่องจากผู้เรียนในแต่ละห้องเรียนมีผู้เรียนเก่ง ปานกลาง และอ่อนคละกัน ทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่สร้างขึ้น ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 เป็นระยะเวลา 26 ชั่วโมง ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยตามขั้นตอน 4 ขั้นตอน คือขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research) : การศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการ ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development) : การพัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ขั้นตอนที่ 3 การวิจัย (Research) : การทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Development) : การประเมินและปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 26 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง รูปสี่เหลี่ยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 30 ข้อ แบบทดสอบวัดความสามารถ ในการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง รูปสี่เหลี่ยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยการใช้รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์แบบปฏิบัติการโดยใช้โปรแกรม The Geometer's Sketchpad (GSP) ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง รูปสี่เหลี่ยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณหาค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติที่ใช้ t-test แบบกลุ่มตัวอย่างไม่อิสระต่อกัน และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

สรุปผลการวิจัย
    จากการดำเนินการตามขั้นตอนของการวิจัยที่ได้นำเสนอแล้วนั้น ปรากฏผลการวิจัยดังนี้
    1.    มีข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์แบบปฏิบัติการโดยใช้โปรแกรม The Geometer's Sketchpad (GSP) ตามแนวคิดทฤษฎี คอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง รูปสี่เหลี่ยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
    2.    ได้รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์แบบปฏิบัติการโดยใช้โปรแกรม The Geometer's Sketchpad (GSP) ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง รูปสี่เหลี่ยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีชื่อว่า “IOSE Model” ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีองค์ประกอบ คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการเรียน การสอน มี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน (Introduction : I) ขั้นที่ 2 ขั้นปฏิบัติการ (Operation : O) ซึ่งประกอบด้วย 3 ขั้นตอนย่อย คือ ขั้นเผชิญและทำความข้าใจสถานการณ์ปัญหา (Confronted situation and solve : C) ขั้นแก้ปัญหาเป็นรายบุคคล (Solve problem individually : S) และขั้นระดมสมอง (Brain storming : B) ขั้นที่ 3 ขั้นสรุปโครงสร้างใหม่ทางปัญญา (Summary : S) และขั้นที่ 4 ขั้นประเมินผล (Evaluation : E) โดยที่รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์แบบปฏิบัติการโดยใช้โปรแกรม The Geometer's Sketchpad (GSP) ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง รูปสี่เหลี่ยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (IOSE Model) ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.09/88.74 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
    3.     หลังการสอนโดยการใช้รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์แบบปฏิบัติการโดยใช้โปรแกรม The Geometer's Sketchpad (GSP) ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง รูปสี่เหลี่ยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (IOSE Model) พบว่า ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
    4.     ผลการประเมินและปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอนพบว่า ผู้เรียนมีความพึงพอใจ ต่อการจัดการเรียนรู้โดยการใช้รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์แบบปฏิบัติการโดยใช้โปรแกรม The Geometer's Sketchpad (GSP) ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง รูปสี่เหลี่ยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (IOSE Model) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^