การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ชีววิทยาเพื่อส่งเสริมความสามารถด้
วิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ชื่อผู้วิจัย นางนัชนาภรณ์ ชัยสารดำรงพัฒน์
ปีที่วิจัย 2563
บทคัดย่อ
การวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ชีววิทยาเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการ
คิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความ
ต้องการในการจัดการเรียนรู้วิชาชีววิทยาตามความคิดเห็นครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
2) พัฒนาพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ชีววิทยาเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3) ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้
ชีววิทยาเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 4)
ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการ
เรียนรู้ชีววิทยาเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563
จำนวน 32 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) มีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ตามขั้นตอนการวิจัย ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันในการจัดการเรียนรู้ ขั้นตอน
ที่ 2 ได้แก่1) ร่างรูปแบบการจัดการเรียนรู้ชีววิทยาเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนรู้
ชีววิทยาเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ขั้นตอน
ที่ 3 ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ชีววิทยาเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์สำหรับ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 7 แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบ
ประเมินความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ จำนวน 1 ชุด มี 18 ข้อ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนวิชาชีววิทยา จำนวน 1 ชุด มี 30 ข้อ และ ขั้นตอนที่ 4 คือแบบสอบถามความพึงพอใจ
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ชีววิทยาเพื่อ
ส่งเสริมความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ จำนวน 1 ชุด มี 25 ข้อคำถาม สถิติที่ใช้คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที ผู้วิจัยนำเสนอผลการวิจัยและสรุปผลการวิจัย ดังนี้
1) ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการในการจัดการเรียนรู้วิชาชีววิทยาตามความคิดเห็นครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ พบว่า การจัดการเรียนรู้ครูจะต้อง มีการจัดเตรียมสื่อที่ใช้ใน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้พร้อมและเพียงพอกับผู้เรียน มีการใช้สื่อการเรียนการสอนที่หลากหลาย เช่น บทเรียนออนไลน์ เอกสาร ใบงาน แบบฝึกทักษะ จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ทำความเข้าใจ และครูได้ตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียนก่อนที่จะสอนต่อไปอีก ครูต้องมีทักษะการตั้งคำถาม หรือใช้วิธีการสอนหลายรูปแบบ โดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมมากที่สุด ทั้งนี้ต้องทำบทเรียนให้มีคุณค่าคือ ให้ผู้เรียนเห็นประโยชน์การนำไปใช้ ความรู้จะเกิดขึ้นได้ต้องเริ่มต้นที่ผู้เรียน ครูเป็นผู้จัดสถานการณ์ที่เหมาะสมและอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เรียนนักเรียนกล้าคิด กล้าทำ กล้าซักถาม กล้าโต้แย้ง กล้าแสดงออก รู้จักคิดวิเคราะห์ มีความคิดหลากหลาย บรรยากาศการเรียนการสอนดี เป็นบรรยากาศการเรียนรู้อย่างอิสระและสร้างสรรค์ มีการอภิปรายซักถาม แลกเปลี่ยนเรียนรู้และสามารถโต้แย้งกันได้ตลอดเวลาและควรมีการประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนรายบุคคล หรือรายกลุ่ม และมีการประเมินผลอย่างต่อเนื่องมีการประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง
2) ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ชีววิทยาเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มี 6 องค์ประกอบคือ 1) หลักการของรูปแบบการเรียนรู้ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบการเรียนรู้ 3) กระบวนการเรียนรู้ มี 5 ขั้น คือ (1) ขั้นแจ้งจุดประสงค์ (2) ขั้นสร้างความรู้ (3) ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (4) ขั้นขยายความรู้ (5) ขั้นตรวจสอบและติดตาม 4) ระบบสังคม 5) หลักการตอบสนอง และ 6) ระบบสนับสนุน ผู้วิจัยเรียกรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามอักษรตัวแรกของกระบวนการเรียนรู้ โดยย่อว่า ONSEM Model
3) ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ชีววิทยาเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ดังนี้ 3.1) ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ชีววิทยาเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.24/81.35 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 3.2) ผลการศึกษาความสามารถการคิดวิเคราะห์ก่อนเรียนและหลังเรียนพบว่า ก่อนเรียน เท่ากับ 10.25 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.34 หลังเรียน มีผลคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 14.22 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.00 3.3) ผลการทดสอบด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยาก่อนเรียนและหลังเรียนพบว่า
ก่อนเรียน เท่ากับ 17.78 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.91 หลังเรียน มีผลคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 24.41 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.13
4) ผลการศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ชีววิทยา เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยภาพรวม ทุกด้าน อยู่ในระดับ มากที่สุด