การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาตามแนวทฤษฎีการสร้างความ
เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ชื่อผู้วิจัย : นางสุกัญญา วาศรี ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
ปีที่วิจัย : 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) ทดลองใช้และหาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งประกอบด้วย 3.1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3.2) เพื่อประเมินความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ และ 3.3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/7 โรงเรียนขุนหาญ-วิทยาสรรค์ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 35 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามความพร้อมของบริบทโรงเรียน 2) แบบสอบถามความต้องการจำเป็นในการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3) แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 4) แผนการจัดการเรียนรู้ที่ประยุกต์ขั้นตอนตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ 5) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 6) แบบประเมินการคิดวิเคราะห์ และ 7) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่า t–test แบบ dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. ความพร้อมของบริบทโรงเรียนในการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมากที่สุด และมีความต้องการจำเป็นในการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมากที่สุด
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีขั้นตอนการจัดกิจกรรม 5 ขั้น คือ 1) ขั้นเตรียมความคิด 2) ขั้นเกาะติดสถานการณ์ 3) ขั้นค้นคว้าจัดการข้อมูล 4) ขั้นเพิ่มพูนองค์ความรู้ และ 5) ขั้นสู่การประยุกต์ใช้ และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.03 / 85.35 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
3. ผลการทดลองใช้และหาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีดังนี้
3.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.2 ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับดีมาก
3.3 ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับดีมาก