การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวทฤษฎี
การสร้างความรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย นางสาวชลธิดา เชื้อพรมธรรม
ปีที่ทำกำรวิจัย 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบ ทดลองใช้ ศึกษาประสิทธิผลและขยายผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 การดาเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะแรกเป็นการศึกษารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ระยะที่สองเป็นการพัฒนารูปแบบ ระยะที่สามเป็นการนารูปแบบที่พัฒนาขึ้นไปทดลองใช้ และระยะที่สี่เป็นการประเมินและปรับปรุงรูปแบบการพัฒนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม ตาบลไพรบึง อาเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จานวน 1 ห้องเรียน จานวน 30 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการขยายผลการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนไพรธรรมคุณวิทยา ตาบลไพร อาเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จานวน 1 ห้องเรียน จานวน 30 คน กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่มเนื่องจากแต่ละห้องเรียนนักเรียนมีความสามารถใกล้เคียงกัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ คู่มือการใช้รูปแบบ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบ Wilcoxon Signed Rank test
ผลกำรวิจัยพบว่ำ
1. รูปแบบจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่พัฒนาขึ้นผ่านการตรวจสอบประสิทธิภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ มีชื่อว่า “1P5E model” มีองค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน และเงื่อนไขการนารูปแบบไปใช้ การบวนการจัดการเรียนการสอนมี 6 ขั้นตอน คือ ขั้นเตรียมความพร้อมสาหรับการเรียนรู้ (Preparation : P) ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement : E1) ขั้นสารวจและค้นหา (Exploration :
E2) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation: E3) ขั้นขยายความรู้ (Elaboration: E4) และขั้นประเมิน (Evaluation : E5) โดยรูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.49/82.23 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยรูปแบบจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ (1P5E model) สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ (1P5E model) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลการขยายผล พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนกลุ่มขยายผล หลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ (1P5E model) สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ (1P5E model) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และผู้วิจัยนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ (1P5E model) ไปเผยแพร่กับกลุ่มครูโรงเรียนไตรพัฒนา จานวน 50 คนพบว่า กลุ่มครูโรงเรียนไตรพัฒนามีความคิดต่อรูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ (1P5E model) มีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก