LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม

เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ r&d จิภัสธกานต์ อัศวกุลทพัชร

usericon

ชื่อเรื่อง    การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์
     ทางการเรียน ของโรงเรียนเทศบาล ๑ (ชุมชนบ้านอุดมทอง)
     กองการศึกษา เทศบาลตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ผู้วิจัย นางจิภัสธกานต์ อัศวกุลทพัชร
ปีที่วิจัย 2560

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารวิชาการแบบมีส่วนร่วม เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของโรงเรียนเทศบาล ๑ (ชุมชนบ้านอุดมทอง) กองการศึกษา เทศบาลตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยดำเนินการวิจัยแบบวิจัยและพัฒนา (Research and Development) แบ่งขั้นตอนการดำเนินการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการการบริหารวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของโรงเรียนเทศบาล ๑ (ชุมชนบ้านอุดมทอง) กองการศึกษา เทศบาลตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ระยะที่ 2 ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของโรงเรียนเทศบาล ๑ (ชุมชนบ้านอุดมทอง) กองการศึกษา เทศบาลตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และ ระยะที่ 3 ผลการประเมินการใช้รูปแบบการบริหารวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของโรงเรียนเทศบาล ๑ (ชุมชนบ้านอุดมทอง) กองการศึกษา เทศบาลตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ครูผู้สอน ในโรงเรียนเทศบาล ๑ (ชุมชนบ้านอุดมทอง) กองการศึกษา เทศบาลตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาจำนวน 26 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 9 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึง ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 จำนวน 9 คน ผู้นำชุมชน จำนวน 5 คน ได้มาโดยวิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นคู่มือการดำเนินงานและตัวชี้วัดความสำเร็จในการดำเนินงานการบริหารวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนเทศบาล ๑ (ชุมชนบ้านอุดมทอง) กองการศึกษา เทศบาลตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
    ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนเทศบาล ๑ (ชุมชนบ้านอุดมทอง) กองการศึกษา เทศบาลตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พบว่ามีปัญหา 3 ด้านคือ 1) ปัญหาด้านนักเรียน นักเรียนไม่มีระเบียบวินัยในตนเอง ขาดความสนใจใฝ่รู้ใฝ่เรียน 2) ปัญหาด้านครูคือ ครูไม่ได้จัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการยังยึดการสอนแบบเดิม ไม่มีนวัตกรรมใหม่ในการสอน และ 3) ปัญหาด้านชุมชนคือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ตนเอง จากการวิเคราะห์ปัญหาร่วมกัน ประเด็นที่ต้องการพัฒนามากที่สุด คือ ปัญหาการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการมีส่วนร่วม โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรนำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษามาเป็นการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) และสร้างชุมชนนักปฏิบัติ (Communities of Practice : CoP) เป็นการให้คนในชุมชนที่มีความรู้ความสามารถในการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นวิทยากรในการสอนนักเรียนและชุมชน ให้เกิดอาชีพใหม่สามารถเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้
2. การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนเทศบาล ๑ (ชุมชนบ้านอุดมทอง) กองการศึกษา เทศบาลตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยนำเอาผลจากการศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการ การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่มีผลงานในการบริหารวิชาการแบบมีส่วนร่วมที่เป็นเลิศให้เป็นกรอบในการร่างรูปแบบโดยผ่านผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน ประเมินความเป็นไปได้ความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด มี 2 องค์ประกอบหลักคือ 1) การวิจัยแบบมีส่วนร่วม 7 ขั้นตอน และ 2) การดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน 19 กิจกรรมย่อย รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนเทศบาล ๑ (ชุมชนบ้านอุดมทอง) กองการศึกษา เทศบาลตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ที่พัฒนาขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญมีความเป็นไปได้ความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์มีค่าอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งประกอบด้วยการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 7 ขั้นตอน และแผนการดำเนินงานจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 19 กิจกรรมย่อย
3. ผลการประเมินผลรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนเทศบาล ๑ (ชุมชนบ้านอุดมทอง) กองการศึกษา เทศบาลตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา อยู่ในระดับมากที่สุด โดยผู้ร่วมวิจัยซึ่งประกอบด้วย ครูโรงเรียนเทศบาล ๑ (ชุมชนบ้านอุดมทอง) กองการศึกษา เทศบาลตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4- ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผู้ปกครองนักเรียน และผู้นำชุมชนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบและความพึงพอใจต่อสภาพการมีส่วนร่วม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดส่งผลในการยกระดับคุณภาพการศึกษา คือ
3.1 ระดับบุคคล ได้แก่นักเรียนมีทักษะชีวิต มีการทำงานเป็นทีม มีความใฝ่รู้
เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็น มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
3.2 ระดับกลุ่ม ได้แก่ ประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็น
สำคัญผลการส่งเสริมพัฒนาสถานศึกษาเพื่อยกระดับมาตรฐานรักษามาตรฐานและพัฒนาสู่ความเป็นเลิศที่สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปการศึกษา
3.3 ระดับองค์กรได้แก่มีระบบการประกันคุณภาพภายใน โดยสถานศึกษาและต้น
สังกัดมีรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมที่ทำให้จัดการศึกษาได้บรรลุเป้าหมายผ่านการประเมิน สมศ.
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^