การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนการคิดแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ (PEPOTE)
และพลังงาน รายวิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม 2 (ว31202) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย กชภชมษ์ บุญนาค
ปีที่วิจัย 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนและ เพื่อศึกษาประสิทธิผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอน การวิจัยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ การศึกษาแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง การออกแบบและพัฒนารูปแบบ และการนำรูปแบบไปใช้เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 แผนการเรียนวิทย์-คณิต ของโรงเรียนซับนกแก้ววิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 32 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย รูปแบบการเรียนการสอน แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ และแบบสอบถามความพึงพอใจการวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์โดยการคำนวณหาประสิทธิภาพ (E1/E2) ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ
การทดสอบความแตกต่างของคะแนนโดยใช้ค่าที (t - test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการเรียนการสอนการคิดแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ (PEPOTE) เรื่อง งานและพลังงาน รายวิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม 2 (ว31202) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีองค์ประกอบสำคัญ ประกอบด้วย หลักการและแนวคิด วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน การวัดผลและ การประเมินผล กระบวนการเรียนการสอน มี 6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นกำหนดสถานการณ์ปัญหา (Problem situation) ขั้นการค้นคว้า (Exploration) ขั้นวางแผนการแก้ปัญหา (Plan the solution) ขั้นจัดระเบียบความรู้ (Organize knowledge) ขั้นทดสอบความคิด (Thinking test) และขั้นขยายผลของคำตอบ (extend results the answer) ผลการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด และมีคะแนนประสิทธิภาพ เท่ากับ 81.57/80.58 ซึ่งถือว่าเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ผลการศึกษาประสิทธิผลการใช้รูปแบบ พบว่า นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนการคิดแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ (PEPOTE) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์หลังเรียน ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 90.63 ของนักเรียนทั้งหมด และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด