การออกแบบการสอนห้องเรียนกลับด้านวิชาคณิตศาสตร์
ผู้ทำวิจัย นางกรรณิการ์ นิธิศธนากุล
โรงเรียน โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์(วังชมภูวิทยาคม) อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์
ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนา เรื่อง การออกแบบการสอนห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยใช้เทคนิค KWDL สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายหลักคือ เพื่อพัฒนาการออกแบบการสอนห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยใช้เทคนิค KWDL สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ดำเนินการพัฒนาตามกระบวนการของการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาการพัฒนา ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและตรวจสอบคุณภาพ ขั้นตอนที่ 3 การศึกษาประสิทธิภาพ และขั้นตอนที่ 4 การประเมินความพึงพอใจ เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน นักเรียนกลุ่มทดลอง 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม 9 คน กลุ่ม 15 คน และกลุ่ม 21 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์ (วังชมภูวิทยาคม) จำนวน 26 คน
ผลการวิจัยพบว่า
1) การออกแบบการสอนห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยใช้เทคนิค KWDL สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ประกอบไปด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 18 แผน และเอกสารประกอบการเรียน 1 เล่ม 5 หน่วยการเรียนรู้ ได้แก่ 1. ลำดับ 2. ลำดับเลขคณิต 3. ลำดับเรขาคณิต 4. อนุกรมเลขคณิต 5. อนุกรมเรขาคณิต
2) ผลการประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน เกี่ยวกับแผนการจัดการเรียนรู้ในภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (x ̅=4.32) ผลการประเมินเกี่ยวกับเอกสารประกอบการเรียน ในภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (x ̅= 4.58) และผลการทดลองใช้โดยนักเรียนกลุ่มทดลอง 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม 9 คน กลุ่ม 15 คน และกลุ่ม 21 คน สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
3) ผลการศึกษาประสิทธิภาพ E1/E2 ตามเกณฑ์ 80/80 นักเรียนมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4) ผลการประเมินความพึงพอใจในภาพรวมมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด(x ̅= 4.68)