นางวรัญญา สุขะ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
และการผันวรรณยุกต์ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD
ร่วมกับแบบฝึกทักษะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย นางวรัญญา สุขะ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
ปีการศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562
สถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลชุมชนวิมลวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดตราด
สังกัดเทศบาลเมืองตราด
ปีที่พิมพ์ 2562
บทคัดย่อ
ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง ไตรยางศ์และการผันวรรณยุกต์ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับแบบฝึกทักษะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ (1) ศึกษาประสิทธิภาพของการกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับแบบฝึกทักษะ เรื่อง ไตรยางศ์และการผันวรรณยุกต์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของนักเรียนที่เรียนด้วยการกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับแบบฝึกทักษะ
เรื่อง ไตรยางศ์และการผันวรรณยุกต์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 (3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยการกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับแบบฝึกทักษะ เรื่อง ไตรยางศ์และการผันวรรณยุกต์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 (4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการกิจกรรม
การเรียนรู้กลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับแบบฝึกทักษะ เรื่องไตรยางศ์และการผันวรรณยุกต์
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/2 โรงเรียนเทศบาลชุมชนวิมลวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดตราด สังกัดเทศบาลเมืองตราด ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 38 คน
ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ด้วยวิธีการจับสลากโดยมีห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบฝึกทักษะวิชาภาษาไทย เรื่อง ไตรยางศ์และการผันวรรณยุกต์
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 8 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย
เรื่อง ไตรยางศ์และการผันวรรณยุกต์ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD
ร่วมกับแบบฝึกทักษะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 8 แผน 3) แบบทดสอบวัดสัมฤทธิ์
ทางการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่อง ไตรยางศ์และการผันวรรณยุกต์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
แบบชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการ
กิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับแบบฝึกทักษะ เรื่อง ไตรยางศ์และการผัน
วรรณยุกต์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale)
3 ระดับ จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ ค่าดัชนีประสิทธิผล
และสถิติทดสอบแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test แบบ Dependent Samples)
ผลการวิจัย พบว่า 1) ประสิทธิภาพของการกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD
ร่วมกับแบบฝึกทักษะ เรื่อง ไตรยางศ์และการผันวรรณยุกต์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
มีค่าเท่ากับ 81.41/83.16 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 2) ดัชนีประสิทธิผลของนักเรียนที่เรียนด้วยการกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับแบบฝึกทักษะ เรื่อง ไตรยางศ์และการผันวรรณยุกต์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีค่าเท่ากับ 0.7257 แสดงว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 72.57
3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนด้วยการกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับแบบฝึกทักษะ
เรื่อง ไตรยางศ์และการผันวรรณยุกต์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05.4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับแบบฝึกทักษะ เรื่อง ไตรยางศ์และการผันวรรณยุกต์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด