เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
ผู้วิจัย ฐิติพันธุ์ จันทร์แก้ว
ปีที่วิจัย 2562
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับแผนผังมโนทัศน์ โดยใช้บทเรียนออนไลน์ สาระภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับแผนผังมโนทัศน์ โดยใช้บทเรียนออนไลน์ สาระภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับแผนผังมโนทัศน์ โดยใช้บทเรียนออนไลน์ สาระภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับแผนผังมโนทัศน์ โดยใช้บทเรียนออนไลน์ สาระภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 4) ประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับแผนผังมโนทัศน์ โดยใช้บทเรียนออนไลน์ สาระภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนเทศบาลวัดท่าโพธิ์ สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครนครศรีธรรมราช อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 39 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยการจับฉลาก 1 ห้องเรียนจากนักเรียนทั้งหมด 4 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับแผนผังมโนทัศน์ โดยใช้บทเรียนออนไลน์ สาระภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับแผนผังมโนทัศน์ โดยใช้บทเรียนออนไลน์ สาระภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ t-test แบบ Dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับแผนผังมโนทัศน์ โดยใช้บทเรียนออนไลน์ สาระภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ได้รูปแบบการเรียนการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีชื่อเรียกว่า “PTLCR Model” มีองค์ประกอบหลัก คือ หลักการ วัตถุประสงค์ การจัดการเรียนการสอน ซึ่งมีกระบวนการเรียนการสอน 5 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นเตรียม (Preparation : P) 2) ขั้นการจัดทีม (Team organization : T) 3) ขั้นการเรียนรู้ (Learning : L) 4) ขั้นการแข่งขัน (Competition : C) และ 5) ขั้นยอมรับความสำเร็จของทีม (Recognition of team success : R)
2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับแผนผังมโนทัศน์ โดยใช้บทเรียนออนไลน์ สาระภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 แบบรายบุคคล (Individual Tryout) เท่ากับ 72.50/70.00 ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 แบบกลุ่มเล็ก (Small Group Tryout) เท่ากับ 78.89/77.78 และการทดลองภาคสนามมีค่าเท่ากับ 81.25/80.49
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับแผนผังมโนทัศน์ โดยใช้บทเรียนออนไลน์ สาระภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการทดลองกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 39 คน ได้ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 87.12/84.74 และจากการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ผลการประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับแผนผังมโนทัศน์ โดยใช้บทเรียนออนไลน์ สาระภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับแผนผังมโนทัศน์ โดยใช้บทเรียนออนไลน์ สาระภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 อยู่ในระดับมากที่สุด