LASTEST NEWS

06 ก.ย. 2567โรงเรียนอุตรดิตถ์ดรุณี รับสมัครครูอัตราจ้าง 6 อัตรา เงินเดือน 12,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 11 กันยายน 2567 06 ก.ย. 2567โรงเรียนบ้านสามแพรก รับสมัครครูอัตราจ้าง ทุกสาขาวิชาเอก เงินเดือน 7,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 10 ก.ย.2567 06 ก.ย. 2567เทศบาลเมืองแก่งคอย รับสมัครคัดเลือกครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ไม่ต้องสอบแข่งขัน จำนวน 2 อัตรา วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 16,560 บาท ตั้งแต่วันที่ 9 - 13 กันยายน 2567 05 ก.ย. 2567โรงเรียนเทศบาล 1 (ในระบบสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง) รับสมัครผู้ช่วยครู 10 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 6-11 กันยายน 2567 05 ก.ย. 2567สพป.สุรินทร์ เขต 3 ขอใช้บัญชีครูผู้ช่วย สพป.บุรีรัมย์ เขต 3 จำนวน 6 อัตรา - รายงานตัว12 กันยายน 2567 05 ก.ย. 2567โรงเรียนบ้านบุ รับสมัคร ธุรการโรงเรียน วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่ 8 – 10 กันยายน 2567 05 ก.ย. 2567ระเบียบใหม่ ปี 67 กำหนดคุณสมบัติครู ร.ร.นอกระบบ ต้องมีอย่างน้อย 1 คนต่อห้องเรียน 05 ก.ย. 2567สพฐ.ออกหนังสือ ด่วนที่สุด ประกาศ มาตรการลดภาระการรายงานของสถานศึกษา 04 ก.ย. 2567สพป.ร้อยเอ็ด เขต 3 รับสมัครพนักงานราชการ 2 อัตรา วุฒิม.6 - ปริญญาตรีทุกสาขา ตั้งแต่ 9-13 กันยายน 2567 04 ก.ย. 2567ล่าสุด..ท้องถิ่น มีตำแหน่งว่าง เปิดสอบ 6,238 อัตรา ม.บูรพา ออกข้อสอบ คาดว่า มีผู้สมัครมากกว่า 5แสนคน

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์

usericon

ชื่อเรื่อง    การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์แบบปฏิบัติการโดยใช้โปรแกรม
    The Geometer's Sketchpad (GSP) ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
    เรื่อง รูปสี่เหลี่ยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย    สิริศักดิ์ อยู่เป็นสุข
ตำแหน่ง    ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
ปีการศึกษา    2562

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบ การเรียนการสอนคณิตศาสตร์แบบปฏิบัติการโดยใช้โปรแกรม The Geometer's Sketchpad (GSP) ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง รูปสี่เหลี่ยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์แบบปฏิบัติการโดยใช้โปรแกรม The Geometer's Sketchpad (GSP) ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง รูปสี่เหลี่ยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพ 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์แบบปฏิบัติการโดยใช้โปรแกรม The Geometer's Sketchpad (GSP) ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง รูปสี่เหลี่ยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์แบบปฏิบัติการโดยใช้ โปรแกรม The Geometer's Sketchpad (GSP) ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง รูปสี่เหลี่ยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียน เทศบาล 5 บ้านห้วยทรายใต้ สังกัดเทศบาลเมืองชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 33 คน ด้วยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เนื่องจากผู้เรียนในแต่ละห้องเรียนมีผู้เรียนเก่ง ปานกลาง และอ่อนคละกัน ทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่สร้างขึ้น ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 เป็นระยะเวลา 26 ชั่วโมง ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยตามขั้นตอน 4 ขั้นตอน คือขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research) : การศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการ ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development) : การพัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ขั้นตอนที่ 3 การวิจัย (Research) : การทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Development) : การประเมินและปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 26 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง รูปสี่เหลี่ยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 30 ข้อ แบบทดสอบวัดความสามารถ ในการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง รูปสี่เหลี่ยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยการใช้รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์แบบปฏิบัติการโดยใช้โปรแกรม The Geometer's Sketchpad (GSP) ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง รูปสี่เหลี่ยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ t-test แบบกลุ่มตัวอย่างไม่อิสระต่อกัน และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

สรุปผลการวิจัย
    จากการดำเนินการตามขั้นตอนของการวิจัยที่ได้นำเสนอแล้วนั้น ปรากฏผลการวิจัยดังนี้
    1.    มีข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์แบบปฏิบัติการโดยใช้โปรแกรม The Geometer's Sketchpad (GSP) ตามแนวคิดทฤษฎี คอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง รูปสี่เหลี่ยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
    2.    ได้รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์แบบปฏิบัติการโดยใช้โปรแกรม The Geometer's Sketchpad (GSP) ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง รูปสี่เหลี่ยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีชื่อว่า “IOSE Model” ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีองค์ประกอบ คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการเรียน การสอน มี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน (Introduction : I) ขั้นที่ 2 ขั้นปฏิบัติการ (Operation : O) ซึ่งประกอบด้วย 3 ขั้นตอนย่อย คือ ขั้นเผชิญและทำความข้าใจสถานการณ์ปัญหา (Confronted situation and solve : C) ขั้นแก้ปัญหาเป็นรายบุคคล (Solve problem individually : S) และขั้นระดมสมอง (Brain storming : B) ขั้นที่ 3 ขั้นสรุปโครงสร้างใหม่ทางปัญญา (Summary : S) และขั้นที่ 4 ขั้นประเมินผล (Evaluation : E) โดยที่รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์แบบปฏิบัติการโดยใช้โปรแกรม The Geometer's Sketchpad (GSP) ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง รูปสี่เหลี่ยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (IOSE Model) ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.09/88.74 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
    3.     หลังการสอนโดยการใช้รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์แบบปฏิบัติการโดยใช้โปรแกรม The Geometer's Sketchpad (GSP) ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง รูปสี่เหลี่ยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (IOSE Model) พบว่า ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
    4.     ผลการประเมินและปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอนพบว่า ผู้เรียนมีความพึงพอใจ ต่อการจัดการเรียนรู้โดยการใช้รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์แบบปฏิบัติการโดยใช้โปรแกรม The Geometer's Sketchpad (GSP) ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง รูปสี่เหลี่ยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (IOSE Model) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^