การพัฒนารูปแบบการบริหารงานในสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม
ชื่อเรื่อง : : การพัฒนารูปแบบการบริหารงานในสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิผล
ของโรงเรียนชุมชนบ้านบวกครกน้อย อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อผู้วิจัย : นายดำรง มาตี๋
โรงเรียน : โรงเรียนชุมชนบ้านบวกครกน้อย อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
ปีที่วิจัย : 2562
การวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารงานในสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อ
ประสิทธิผลของโรงเรียนชุมชนบ้านบวกครกน้อย อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจสภาพปัจจุบันและความต้องการการบริหารงานในสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผล ต่อประสิทธิผลของโรงเรียนชุมชนบ้านบวกครกน้อย อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อออกแบบและสร้างรูปแบบการบริหารงานในสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิผล ของโรงเรียนชุมชนบ้านบวกครกน้อย อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบ การบริหารงานในสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนชุมชนบ้านบวกครกน้อย อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารงานในสถานศึกษา แบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนชุมชนบ้านบวกครกน้อย อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ โดยแบ่งขั้นตอนการวิจัยเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 สำรวจสภาพปัจจุบันและ ความต้องการการมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนชุมชนบ้านบวกครกน้อย อำเภอ เมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ โดยการสอบถามครูและบุคลากร จำนวน 40 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 220 คน ระยะที่ 2 ออกแบบ และสร้างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนชุมชนบ้านบวกครกน้อย อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม โดย อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยและผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 15 คน ระยะที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนชุมชนบ้านบวกครกน้อย อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ โดยการประเมินประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา จากการสอบถามครูและบุคลากร จำนวน 40 คน ตรวจสอบร้อยละของนักเรียนที่มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับดี(ระดับผลการเรียน 3) ขึ้นไป ระหว่างปีการศึกษา 2561 และ ปีการศึกษา 2562 ระยะที่ 4 ประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนชุมชนบ้านบวกครกน้อย อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ สอบถามความพึงพอใจจากครูและบุคลากร จำนวน 40 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 220 คน ที่มีต่อรูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพปัจจุบันของการมีส่วนร่วมของครูและบุคลากร คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียนในการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนชุมชนบ้านบวกครกน้อย อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (μ = 3.34) สำหรับความต้องการของการมีส่วนร่วม ของครูและบุคลากร คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียนในการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนชุมชนบ้านบวกครกน้อย อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (μ = 4.37)
2. รูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนชุมชน บ้านบวกครกน้อย อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ มีองค์ประกอบหลัก 4 ด้าน คือ 1) ด้านวัตถุประสงค์ 2) ด้านระบบงานและกลไก 3) ด้านหลักการของรูปแบบ และ 4) ด้านวิธีการดำเนินงาน ทุกด้านมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก (μ =4.37) และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก (μ =4.33)
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิผล ของโรงเรียนชุมชนบ้านบวกครกน้อย อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ประสิทธิผล ของการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนชุมชนบ้านบวกครกน้อย อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (μ = 4.36) และร้อยละของนักเรียนที่มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับดี (ระดับผลการเรียน 3) ขึ้นไป จำแนกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ปีการศึกษา 2562 สูงกว่าปีการศึกษา 2561 จำนวน 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และต่ำกว่าปีการศึกษา 2561 จำนวน 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้
4. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิผล ของโรงเรียนชุมชนบ้านบวกครกน้อย อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ครูและบุคลากร กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนชุมชนบ้านบวกครกน้อย อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (μ = 4.27)
คำสำคัญ : การพัฒนารูปแบบ,การบริหารงานในสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิผล,
โรงเรียนชุมชนบ้านบวกครกน้อย