การพัฒนารูปแบบการสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุดการสอน
ผู้รายงาน นายประเวศ เถียรทศศิริ
พุทธศักราช 2562
บทคัดย่อ
การรายงานครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อการพัฒนารูปแบบการสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD
ประกอบชุดการสอนรายวิชาศิลปะ(ทัศนศิลป์) ศ23101 เรื่อง ลายไทยพื้นฐานจากวัดในท้องถิ่นจันทบูร ชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของการกพัฒนารูปแบบการสอนแบบ
ร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุดการสอนรายวิชาศิลปะ(ทัศนศิลป์)
ศ23101 เรื่อง ลายไทยพื้นฐานจากวัดในท้องถิ่นจันทบูร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ที่
มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการการพัฒนารูปแบบการสอนแบบร่วมมือ
โดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุดการสอนรายวิชาศิลปะ(ทัศนศิลป์) ศ23101 เรื่อง ลายไทยพื้นฐานจากวัดใน
ท้องถิ่นจันทบูร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ของนักเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนจากการการพัฒนารูปแบบการสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ประกอบ
ชุดการสอนรายวิชาศิลปะ(ทัศนศิลป์) ศ23101 เรื่อง ลายไทยพื้นฐานจากวัดในท้องถิ่นจันทบูร ชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการการพัฒนารูปแบบการ
สอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุดการสอนรายวิชาศิลปะ(ทัศนศิลป์) ศ23101 เรื่อง ลายไทย
พื้นฐานจากวัดในท้องถิ่นจันทบูร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ประชากรที่ใช้ในการ
รายงาน คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนเทศบาลจันทบุรี๒
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จ านวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ
การสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD 2) ชุดการสอนรายวิชาศิลปะ(ทัศนศิลป์) ศ23101 เรื่อง ลายไทย
พื้นฐานจากวัดในท้องถิ่นจันทบูร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ 3 ) แบบทดสอบวัด
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จ านวน 30 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.80 และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ
จ านวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีประสิทธิผล
ผลการรายงานปรากฏ ดังนี้
1. ประสิทธิภาพของการการพัฒนารูปแบบการสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุดการ
สอนรายวิชาศิลปะ(ทัศนศิลป์) ศ23101 เรื่อง ลายไทยพื้นฐานจากวัดในท้องถิ่นจันทบูร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ โรงเรียนเทศบาลจันทบุรี๒ เท่ากับ 84.58/ 88.56 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้ง
ไว้
2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของการการพัฒนารูปแบบการสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ประกอบ
ชุดการสอนรายวิชาศิลปะ(ทัศนศิลป์) ศ23101 เรื่อง ลายไทยพื้นฐานจากวัดในท้องถิ่นจันทบูร ชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ มีค่าเท่ากับ 0.6230 แสดงว่านักเรียน มีความก้าวหน้าในการ
เรียนรู้ เพราะมีคะแนนเพิ่มขึ้นร้อยละ 62.30
3. คะแนนประเมินผลหลังการการพัฒนารูปแบบการสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุด
การสอนรายวิชาศิลปะ(ทัศนศิลป์) ศ23101 เรื่อง ลายไทยพื้นฐานจากวัดในท้องถิ่นจันทบูร ชั้นมัธยมศึกษาปี
ที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ มีความแตกต่างกับคะแนนประเมินผลก่อนการใช้ชุดการสอนรายวิชาศิลปะ
(ทัศนศิลป์) ศ23101 เรื่อง ลายไทยพื้นฐานจากวัดในท้องถิ่นจันทบูร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการ
เรียนรู้ศิลปะ อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นั่นคือ การจัดการเรียนการสอน รายวิชาศิลปะ(ทัศนศิลป์)
ศ23101 เรื่อง ลายไทยพื้นฐานจากวัดในท้องถิ่นจันทบูร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ที่มี
การน าชุดการสอนรายวิชาศิลปะ มาประกอบการจัดการเรียนรู้ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน
สูงขึ้นกว่าก่อนเรียนรายวิชาศิลปะ(ทัศนศิลป์) ศ23101 เรื่อง ลายไทยพื้นฐานจากวัดในท้องถิ่นจันทบูร ชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ประกอบ
ชุดการสอนรายวิชาศิลปะ(ทัศนศิลป์) ศ23101 เรื่อง ลายไทยพื้นฐานจากวัดในท้องถิ่นจันทบูร ชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ในระดับพึงพอใจมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.52 ที่การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วย
รูปแบบการสอน แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุดการสอนรายวิชาศิลปะ(ทัศนศิลป์) ศ23101
เรื่อง ลายไทยพื้นฐานจากวัดในท้องถิ่นจันทบูร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ท าให้
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนในรายวิชาศิลปะ(ทัศนศิลป์) ศ23101 สูงขึ้น