LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภูมิศาสตร์ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ ฯ

usericon

ชื่อเรื่อง     การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภูมิศาสตร์ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมการคิด
อย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย    นางพิไลลักษณ์ เรืองโชติเสถียร
ตำแหน่ง    ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
สังกัด    โรงเรียนเทศบาล 3 “เทศบาลอนุสรณ์” กองการศึกษาเทศบาลเมืองสุรินทร์
จังหวัดสุรินทร์     
ปีที่พิมพ์    2562
        บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ดังนี้ 1. เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนภูมิศาสตร์ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2. เพื่อศึกษาประสิทธิผลเชิงประจักษ์ของรูปแบบการเรียนการสอนภูมิศาสตร์ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ดังนี้ 1) เปรียบเทียบการคิดอย่างมีวิจารณญาณก่อนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยกำหนดรูปแบบการทดลองแบบกลุ่มเดียว ทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 3 “เทศบาลอนุสรณ์” เทศบาลเมืองสุรินทร์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 6 ห้องเรียน มีนักเรียนจำนวน 198 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 3 “เทศบาลอนุสรณ์” เทศบาลเมืองสุรินทร์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียนจำนวน 32 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายโดยวิธีการจับฉลากห้อง (Sample Random Sampling) คือ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและแบบสอบถามความคิดเห็น วิเคราะห์ข้อมูลสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (dependent t - test) และการวิเคราะห์เนื้อหา
    ผลการวิจัย พบว่า
     1. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีชื่อเรียกว่ารูปแบบการเรียนการสอนอีพีซีเอสอี (EPCSE) มีองค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน หลักการตอบสนอง ระบบสังคม สิ่งสนับสนุน สาระความรู้ และสิ่งส่งเสริมการเรียนรู้ ซึ่งกระบวนการเรียนการสอน มี
5 ขั้นตอน คือ 1) เร้าความสนใจ (Encouragement : E) 2. ให้ความรู้และทักษะพื้นฐาน (Providing Fundamental Knowledge and Skill : P) 3. สร้างมโนทัศน์และฝึกทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Constructing Concepts and Critical Thinking) 4. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Sharing : S)
5. ตรวจสอบความรู้ความเข้าใจ (Enumeration : E) ผลการตรวจสอบความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี ความเป็นไปได้ของรูปแบบการเรียนการสอนอีพีซีเอสอี (EPCSE Model) โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี มีค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้อมีค่าระหว่าง 0.80 – 1.00 และความเป็นไปได้ของรูปแบบมีค่าดัชนีรายข้อ มีค่าระหว่าง 0.80 – 1.00 แสดงให้เห็นว่ารูปแบบการเรียนการสอนดังกล่าว มีความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี และมีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้                             
     2. ผลการตรวจสอบประสิทธิผลเชิงประจักษ์ของรูปแบบการเรียนการสอนภูมิศาสตร์ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีดังนี้                              
         2.1 ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณก่อนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น พบว่า คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของกลุ่มตัวอย่าง หลังเรียน (x ̅ = 44.19, S.D. = 1.09) ซึ่งอยู่ในระดับสูง สูงกว่าก่อนเรียน (x ̅ = 20.09 , S.D. = 2.53) ซึ่งอยู่ในระดับต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 2.1
         2.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น พบว่า คะแนนเฉลี่ยที่เรียนโดยกระบวนการเรียนการสอนตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น หลังเรียน (x ̅ = 26.28, S.D. = 0.77) สูงกว่าก่อนเรียน (x ̅ = 13.84, S.D. = 1.02) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 2.2 โดยค่าเฉลี่ยของคะแนนหลังเรียนอยู่ในระดับสูง ส่วนก่อนเรียนอยู่ในระดับต่ำ              
         2.3 ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนภูมิศาสตร์ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.62, S.D. = 0.48) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุดทุกด้าน เรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านประโยชน์ที่ได้รับ (x ̅ = 4.77 , S.D. = 0.42) ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (x ̅ = 4.58, S.D. = 0.49) และด้านบรรยากาศในการเรียน (x ̅ = 4.51 S.D. = 0.50) ตามลำดับ
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^