การพัฒนาผลการเรียนรู้และความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์
ภูมิภาคเอเชีย ที่จัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย นางพิไลลักษณ์ เรืองโชติเสถียร
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
สังกัด โรงเรียนเทศบาล 3 “เทศบาลอนุสรณ์” กองการศึกษาเทศบาลเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
ปีที่พิมพ์ 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ เรื่อง วัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมของภูมิภาคเอเชียของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 2) เพื่อศึกษาความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ เรื่อง วัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมของภูมิภาคเอเชียของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
การวิจัยนี้เป็นการกำหนดรูปแบบการทดลองแบบกลุ่มเดียว ทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 3 “เทศบาลอนุสรณ์” เทศบาลเมืองสุรินทร์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 6 ห้องเรียน มีนักเรียนจำนวน 198 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 3 “เทศบาลอนุสรณ์” เทศบาลเมืองสุรินทร์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียนจำนวน 34 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายโดยวิธีการจับฉลากห้อง (Sample Random Sampling) คือ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ แบบสอบถามความคิดเห็น วิเคราะห์ข้อมูลสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (dependent t - test) และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการเรียนรู้เรื่องวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมของภูมิภาคเอเชีย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีค่าเฉลี่ยหลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ( = 25.79, S.D. = 0.88) สูงกว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนผลการเรียนรู้เรื่อง วัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมของภูมิภาคเอเชียของนักเรียนก่อนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
( =13.29, S.D. = 0.80) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
2. นักเรียนมีความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ในภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ระดับดี ( = 8.60, S.D. = 1.20) เมื่อพิจารณาความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์เป็นรายด้าน อยู่ในเกณฑ์ระดับดีทุกด้าน เรียงลำดับจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุดดังนี้ นักเรียนมีความสามารถด้านการวิเคราะห์ความสำคัญหรือเนื้อหา ( = 8.65, S.D. = 0.54) รองลงมาคือการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ( =8.59, S.D. = 0.56) ลำดับที่สามคือ ด้านการวิเคราะห์เชิงหลักการ ( = 8.56, S.D. = 0.50)
3. ผลการศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด ( = 4.67, S.D. = 0.46) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า นักเรียนมีความเห็นด้วยมากที่สุดทุกด้านเรียงตามลำดับดังนี้ นักเรียนส่วนใหญ่เห็นด้วยมากที่สุด ด้านประโยชน์ที่ได้รับ ( = 4.74 S.D. =0.44) รองลงมา ด้านบรรยากาศในการจัดการเรียนรู้ ( =4.73, S.D.= 0.45) รองลงมา ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ( =4.68, S.D. =0.47) และลำดับสุดท้าย ด้านเนื้อหา ( =4.53, S.D. =0.50)