รายงานการการจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์
คำถามปลายเปิดเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชิงเหตุผล
สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3
ผู้วิจัย นางสาวนิภาวรรณ์ จันทร์สม ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาลศรีเมืองพลประชานุเคราะห์ สังกัดกองการศึกษา
เทศบาลเมืองเมืองพล จังหวัดขอนแก่น
ปีที่วิจัย 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา 1) เพื่อพัฒนาหนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์ประกอบคำถามปลายเปิดพัฒนาความสามารถในการคิดเชิงเหตุผล สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนผลการพัฒนาความสามารถในการคิดเชิงเหตุผล ก่อน- หลัง การจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์ประกอบคำถามปลายเปิด สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลศรีเมืองพลประชานุเคราะห์ สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองเมืองพล จำนวน 25 คน ภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2563 ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นเครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วยหนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์ประกอบคำถามปลายเปิด เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชิงเหตุผล สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 จำนวน 10 เรื่อง แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์ประกอบคำถามปลายเปิดเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลในวันอังคาร วันพุธ และวันพฤหัสบดี ทั้งหมด 10 หน่วย จำนวน 30 แผน ใช้เวลาจัดกิจกรรม จำนวน 30 วัน แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดเชิงเหตุผล จำนวน 25 ข้อ โดยใช้วิธีการทางสถิติ การหาประสิทธิภาพใช้ค่าเฉลี่ย/ร้อยละ การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนใช้ t – test การแสดงความคิดเห็นใช้ และ S.D.
สรุปผลการวิจัย
ผลการวิจัยการใช้หนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์ประกอบคำถามปลายเปิดพัฒนาความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลสำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 สรุปได้ว่า
1. ประสิทธิภาพของหนังสือนิทานประกอบภาพเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิด เชิงเหตุผล โดยใช้หนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์ประกอบคำถามปลายเปิด สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 87.15/88.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ 80/80
2. ผลการเปรียบเทียบการใช้นิทานนิทานคุณธรรมประกอบคำถามปลายเปิดเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลสำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 หลังการจัดกิจกรรมสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05