การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชน
ผู้วิจัย : นายเสกศักดิ์ การวินพฤติ
ปีที่วิจัย : 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชน ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนเทศบาลตะโหมด จังหวัดพัทลุง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหา และแนวทางการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชน ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนเทศบาลตะโหมด จังหวัดพัทลุง 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชน ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนเทศบาลตะโหมด จังหวัดพัทลุง 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชน ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนเทศบาลตะโหมด จังหวัดพัทลุง และ 4) เพื่อประเมินความคิดเห็นที่มีต่อการใช้รูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชน ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนเทศบาลตะโหมด จังหวัดพัทลุง กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหารสถานศึกษา หรือผู้บริหารการศึกษา และครูผู้สอนที่มีประสบการณ์ไม่ต่ำกว่า 10 ปี โดยใช้วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 15 คน กลุ่มเป้าหมายได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษา คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง ครูผู้สอน และผู้ปกครองนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ในปีการศึกษา 2562 ของโรงเรียนเทศบาลตะโหมด จังหวัดพัทลุง จำนวน 221 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์ (Interviewed) ชนิดแบบมีโครงสร้าง แบบสอบถามเรื่องการพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชน ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนเทศบาลตะโหมด จังหวัดพัทลุง แบบประเมินรูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชน ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนเทศบาลตะโหมด จังหวัดพัทลุง และแบบประเมินความคิดเห็นที่มีต่อการใช้รูปแบบการบริหารบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชน ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนเทศบาล ตะโหมด จังหวัดพัทลุง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือค่ามัธยฐาน (Median) ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ (Interquartile Range) ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD.)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการวิเคราะห์ปัญหาและข้อมูลพื้นฐานในการสร้างรูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชน ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนเทศบาลตะโหมด จังหวัดพัทลุง ผู้ทรงคุณวุฒิ มีความเห็นสามารถสรุปได้ดังนี้
1) สภาพปัญหาโดยทั่วไปของการดำเนินงานเกี่ยวกับการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วม ในภาพรวมพบว่า ทัศนคติของผู้บริหารและครูที่ไม่เชื่อมั่นในศักยภาพทางความคิดของชุมชน ลักษณะของความเป็นข้าราชการของผู้บริหาร และครู ทำให้สถานศึกษาแตกต่างจากชุมชน สถานศึกษาขาดแนวความคิดที่เหมาะสมในการทำงานร่วมกับชุมชน ผู้บริหารสถานศึกษาทำงานโดยยึดความคิดของตนเองเป็นหลัก
2) การดำเนินงานเกี่ยวกับการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วม ของสถานศึกษาต่างๆ ในปัจจุบัน พบว่ามีทั้งสถานศึกษาที่ประสบความสำเร็จและไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องมาจากปัจจัยหลายอย่างทั้งขนาดของสถานศึกษา ชุมชนโดยรอบสถานศึกษาไม่ให้ความร่วมมือ กรรมการสถานศึกษาส่วนใหญ่ไม่มีความรู้และความเข้าใจในเรื่องการบริหารและการจัดการศึกษา ผู้ปกครองนักเรียนเข้าใจว่าการจัดการศึกษาเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของครูเพียงอย่างเดียว และผู้บริหารสถานศึกษาส่วนใหญ่ยังไม่เปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ไม่เปิดใจยอมรับการทำงานร่วมกับคณะกรรมการสถานศึกษา
3) หลักการโดยทั่วไปของการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมคือ การให้ข้อมูลข่าวสาร การรับฟังความคิดเห็น การเกี่ยวข้อง ความร่วมมือ และการเสริมอำนาจ
4) องค์ประกอบหรือปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วม ได้แก่วัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมาย กิจกรรมเป้าหมายที่ระบุลักษณะของกิจกรรมชัดเจน ต้องมีบุคคลหรือกลุ่มเป้าหมาย
5) บทบาท และหน้าที่ของสถานศึกษาในการบริหารแบบมีส่วนร่วม ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องมีคุณลักษณะ ในการใช้ทักษะการบริหารแบบมีส่วนร่วม มีความรู้ในหลักการบริหาร หลักธรรมาภิบาล การสร้างทีมงาน จิตวิทยาชุมชน ความเป็นผู้นำทางวิชาการ มีความรอบรู้ มีวิสัยทัศน์ มีความมุ่งมั่น ตั้งใจ ที่จะพัฒนาสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ การจัดการศึกษา การบริหารงานใดๆ จะเกิดประสิทธิผลได้ก็ต่อเมื่อผู้บริหารมีภาวะผู้นำ กระจายความรับผิดชอบ อย่างเป็นธรรมไปสู่ผู้ใต้บังคับบัญชา และผู้มีส่วนร่วมทุกคน โดยต้องใช้ภาวะผู้นำให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆ เพื่อให้งานเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากที่สุด
2. รูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชน ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษา ขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนเทศบาลตะโหมด จังหวัดพัทลุง ที่สร้างขึ้น ผู้ทรงคุณวุฒิ มีความเห็นว่า มีความเหมาะสม สามารถนำไปใช้ได้ โดยรูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชน ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนเทศบาลตะโหมด จังหวัดพัทลุง ที่สร้างขึ้นประกอบด้วยองค์ประกอบต่างๆ 4 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม องค์ประกอบที่ 2 ขอบข่ายงานมาตรฐานคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน องค์ประกอบที่ 3 การกำหนดบทบาทหน้าที่ของผู้มีส่วนร่วม และองค์ประกอบที่ 4 กระบวนการบริหารแบบมีส่วนร่วม
3. ผลการศึกษาการใช้รูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชน ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนเทศบาลตะโหมด จังหวัดพัทลุง พบว่า
1) มาตรฐานด้านคุณภาพผู้เรียน ในด้านผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ ผู้เรียนสามารถอ่านออกและอ่านคล่องตามมาตรฐานการอ่านในแต่ละระดับชั้น สามารถเขียนสื่อสารได้ดีนักเรียนมีนิสัยรักการอ่าน และแสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากห้องสมุด แหล่งเรียนรู้ และสื่อต่างๆ รอบตัว มีทักษะในการอ่าน ฟัง ดู พูด เขียนและตั้งคำถามเพื่อค้นหาความรู้เพิ่มเติม เรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่ม มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต รวมถึงมีความเข้าใจเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล และระหว่างวัย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อการเรียนรู้ระหว่างกันใช้เทคโนโลยีในการเรียนร้ สามารถสร้างนวัตกรรมและนำเสนอผลงานได้ อีกทั้งยังมีกิจกรรมที่ช่วยให้นักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตร มีน้ำใจ เอื้ออาทรผู้อื่นและกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ ยอมรับความคิดและวัฒนธรรมที่แตกต่าง ตระหนัก รู้คุณค่า ร่วมอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม ได้แสดงออกในทิศทางที่ถูกต้องเหมาะสม เห็นคุณค่าในตนเอง มีความมั่นใจกล้าแสดงออก มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี รู้จักการให้เกียรติผู้อื่น และเข้าร่วมสร้างผลงานจากการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งด้านศิลปะ ดนตรี/นาฏศิลป์ กีฬา/นันทนาการ ได้แก่ กิจกรรมวันเยาวชนแห่งชาติ กิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ ซึ่งเป็นเวทีที่แสดงความสามารถของนักเรียน ในทุกด้าน กิจกรรมวันไหว้ครู ที่ให้นักเรียนสร้างสรรค์พานไหว้ครูตามจินตนาการของนักเรียนได้มีการให้นักเรียนรู้จักการวางแผนการทำงานและดำเนินการจนสำเร็จ ทำงานอย่างมีความสุขพัฒนางานและภูมิใจในผลงานของตนเอง สามารถำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และมีความรู้สึกที่ดีต่ออาชีพสุจริตและหาความรู้เกี่ยวกับอาชีพที่ตนเองสนใจได้
2) มาตรฐานด้านกระบวนการบริหารและจัดการ มีการจัดโครงการ กิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนบรรลุตามเป้าหมายวิสัยทัศน์ ปรัชญา และจุดเน้นของสถานศึกษา มีกิจกรรมพิเศษเพื่อตอบสนองนโยบาย จุดเน้น ตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษา และมีผลการดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมายมีผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์ และมีความสามารถเป็นส่วนใหญ่ จึงทำให้การบริการจัดการด้านต่างๆมีประสิทธิภาพ ระบบสารสนเทศของโรงเรียน เป็นหมวดหมู่ และเป็นปัจจุบัน ทำให้การบริหารจัดการของโรงเรียนมีประสิทธิภาพ มีระบบบริหารคุณภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และอัตลักษณ์ที่สถานศึกษากำหนด จัดทำแผนพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดรับกับมาตรฐานที่สถานศึกษากำหนด และดำเนินการตามแผน มีการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษาติดตามผลการดำเนินงาน และจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปี นำผลการประเมินไปปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา โดยผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม และจัดส่งรายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัด หลักสูตรสถานศึกษามีความเหมาะสมและสอดคล้องกับท้องถิ่น การนิเทศภายใน กำกับ ติดตามตรวจสอบ และนำผลไปปรับปรุงการเรียนการสอนอย่างสม่ำเสมอ จัดรายวิชาเพิ่มเติมที่หลากหลายให้ผู้เรียนเลือกเรียนตามความถนัด ความสามารถและความสนใจ จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่ส่งเสริมและตอบสนองความต้องการ ความสามารถ ความถนัด และความสนใจของผู้เรียน ครูได้ปฏิบัติหน้าที่ตรงกับความรู้ความสามารถหรือคุณวุฒิทำให้งานมีคุณภาพ ได้รับการยอมรับ จากผู้ปกครองและชุมชนในการจัดการศึกษา ส่งเสริมและพัฒนาครูและบุคลากรให้มีสมรรถนะตามมาตรฐานวิชาชีพ นำผลที่ได้จากการรับมอบหมาย มาปรับใช้ พัฒนาโรงเรียนจนส่งผลให้นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชนเกิดความพึงพอใจในผลของการบริหารการจัดการศึกษา ผู้บริหารให้คำแนะนำคำปรึกษาทางด้านวิชาการและเอาใจใส่การจัดการศึกษาอย่างเต็มศักยภาพและเต็มเวลา ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ อาคารเรียนมั่นคง สะอาดและปลอดภัย มีสิ่งอำนวยความสะดวก พอเพียง อยู่ในสภาพใช้การได้ดี สภาพแวดล้อมร่มรื่น และมีแหล่งเรียนรู้สำหรับผู้เรียน จัดโครงการกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของผู้เรียน จัดห้องสมุดที่ให้บริการสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศที่เอื้อให้ผู้เรียน เรียนรู้ด้วยตนเอง หรือเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม มีการสร้างและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษาและใช้ประโยชน์จากแหล่งเรียนรู้ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนและบุคลากรของสถานศึกษารวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้อง แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคลากรภายในสถานศึกษา ระหว่างสถานศึกษากับครอบครัว ชุมชน และองค์กรที่เกี่ยวข้องโรงเรียนให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์ โดยบริการ Wireless network ที่ครอบคลุมพื้นที่สะดวก มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ทันสมัย ทำให้นักเรียนสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3) มาตรฐานด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูโรงเรียนเทสบาลตะโหมด มีการกำหนดเป้าหมายคุณภาพผู้เรียนทั้งด้านความรู้ทักษะกระบวนการ สมรรถนะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์มีการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล และใช้ข้อมูลในการวางแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน สามารถออกแบบและการจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล และพัฒนาการทางสติปัญญา ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมผนวกกับการนำบริบท และภูมิปัญญาของท้องถิ่นมาบูรณาการในการจัดการเรียนรู้ มีการวัดและประเมินผลที่มุ่งเน้นการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ด้วยวิธีการที่หลากหลาย มีการศึกษาวิจัยและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในวิชาที่ตนรับผิดชอบ และใช้ผลในการปรับการสอน ประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี และเป็นสมาชิกที่ดีของสถานศึกษา จัดการเรียนการสอนตามวิชาที่ได้รับมอบหมายเต็มเวลาเต็มความสามารถ มีการสร้างและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษาและใช้ประโยชน์จากแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา เช่น ห้องสมุด ฐานการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนและบุคลากรของสถานศึกษารวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้อง การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคลากรภายในสถานศึกษา ระหว่างสถานศึกษากับครอบครัว ชุมชน และองค์กรที่เกี่ยวข้อง
4. ผลการประเมินความคิดเห็นที่มีต่อการใช้รูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชน ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนเทศบาลตะโหมด จังหวัดพัทลุงพบว่า ในภาพรวมคณะกรรมการสถานศึกษา คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง ครูผู้สอน และผู้ปกครองนักเรียน มีความคิดเห็นต่อรูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชน ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนเทศบาลตะโหมด จังหวัดพัทลุง อยู่ในระดับมาก ( = 4.26) เมื่อพิจารณาเป็น รายด้าน พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษา คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง ครูผู้สอน และผู้ปกครองนักเรียน มีความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชน ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนเทศบาลตะโหมด จังหวัดพัทลุง ด้านประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัติงาน มากที่สุด ( = 4.32) รองลงมาคือ ด้านประโยชน์ต่อผู้บริหาร มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( = 4.26) และต่ำสุดคือ ด้านความเป็นไปได้มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( = 4.23)