LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม

รูปแบบการพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมโดยบูรณาการ

usericon

บทคัดย่อ

ชื่องานวิจัย         รูปแบบการพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมโดยบูรณาการ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ผู้วิจัย             นายอภิวรุณ โสมมา
ปีที่พิมพ์วิจัย     2563

            การพัฒนารูปแบบการพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมโดยบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนา การจัดการศึกษาของโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมโดยบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) เพื่อปฏิบัติการและศึกษาผลการปฏิบัติการใช้รูปแบบการพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียน แบบมีส่วนร่วมโดยบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3) เพื่อเปรียบเทียบระดับ การมีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียนก่อนและหลังปฏิบัติการใช้รูปแบบการพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมโดยบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ 4) เพื่อศึกษาบทเรียนการพัฒนาโรงเรียนผ่านรูปแบบการพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนแบบมีส่วนร่วม ดยบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งผลต่อคุณภาพนักเรียนและการยอมรับ จากชุมชนและสังคม การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การสร้างรูปแบบ การพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมโดยบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ระยะที่ 2 การนำรูปแบบไปใช้ตามวงจรปฏิบัติการของ Kemmis & McTaggart ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ การวางแผน การปฏิบัติตามแผน การสังเกตผล และการสะท้อนผล ปฏิบัติการ 2 วงจร คือ วงจรที่ 1 ปีการศึกษา 2561-2562 และวงจรที่ 2 ปีการศึกษา 2562-2563 ระยะที่ 3 การประเมินผลการดำเนินการตามรูปแบบ และระยะที่ 4 การศึกษาบทเรียนการพัฒนา การจัดการศึกษาของโรงเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยผ่านรูปแบบการพัฒนา การจัดการศึกษาของโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมโดยบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่ส่งผลต่อคุณภาพนักเรียนและการยอมรับจากชุมชนและสังคม
            สรุปผลการวิจัย พบว่า
                1. ผลการพัฒนารูปแบบการพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนแบบมีส่วนร่วม โดยบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วยกลยุทธ์ในการพัฒนา 4 กลยุทธ์ คือ 1) กลยุทธ์การพัฒนาศักยภาพครู 2) กลยุทธ์การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ 3) กลยุทธ์การสร้างศรัทธา และ 4) กลยุทธ์ความเป็นหุ้นส่วน
                2. ผลการดำเนินการตามกลยุทธ์ผ่านรูปแบบการพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมโดยบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจำนวน 13 โครงการ พบว่าผลการดำเนินโครงการในวงจรที่ 1 ทั้ง 13 โครงการ มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากทุกโครงการ และในวงจรที่ 2 มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากและมากที่สุด และมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นมากกว่าวงจร ที่ 1 ทุกโครงการ
                3. ผลการศึกษาการมีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียน ในด้านต่าง ๆ 4 ด้าน พบว่า ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมโดยบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีค่าเฉลี่ยแต่ละด้านที่เพิ่มขึ้น ทุกด้าน
                4. ผลการการพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมโดยบูรณาการ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งผลต่อคุณภาพนักเรียนและการยอมรับจากชุมชน และสังคม พบว่านักเรียนกล้าคิด กล้าถาม กล้าแสดงออกมากขึ้น มีแรงบันดาลใจในการเรียน เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี มีสัมมาคารวะ เกิดทักษะการเรียนรู้ สามารถเชื่อมโยงกับชีวิตจริงได้ ครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้รับการพัฒนาตนเอง จัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ใช้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ชุมชนวิชาชีพ (PLC) สภาพแวดล้อมและบรรยากาศในโรงเรียน เอื้อต่อการเรียนรู้ ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ผู้ปกครองมีความตระหนัก และเห็นความสำคัญของการจัดการศึกษามากขึ้น ผลการศึกษาขวัญกำลังใจของครูและบุคลากรทางการศึกษา พบว่า มีเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้ที่มี ส่วนเกี่ยวข้อง พบว่า ความพึงพอใจของครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียน แบบมีส่วนร่วมโดยบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^