LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้

usericon

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถ ในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ชื่อผู้วิจัย นางสาวบุรัสกาญ สุวรรณ์ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาล ๔ หนองแคอนุสรณ์ สังกัดกองการศึกษาเทศบาลตำบลหนองแค
จังหวัดสระบุรี
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2561

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research& Development ) มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการการการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถ ในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 4) เพื่อประเมินผลการใช้การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 แหล่งข้อมูล/กลุ่มเป้าหมายตามวัตถุประสงค์การวิจัยขั้นตอนที่ 1 ได้แก่ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สาระที่ 2 การเขียน และสาระที่ 4 หลักการใช้ภาษา สาระการเรียนรู้เรื่องการเขียนบรรยายเกี่ยวกับลักษณะของคน สัตว์ สิ่งของสถานที่ การแต่งประโยคเพื่อการสื่อสาร และมารยาทในการเขียน ทฤษฎีการเรียนรู้และการเชื่อมโยงความคิดของแฮร์บาร์ต ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ ทฤษฎีการเรียนรู้ด้วยกระบวนการค้นพบของบรุนเนอร์ ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมายของอซูเบล และทฤษฎีการเรียนรู้แบบกลุ่มผสมผสานของกาเย่ และทฤษฎีการสร้างความรู้ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน และความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ การศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับความต้องการในการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย แนวคิดในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนและผลการทดสอบวัดความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (NT) ของผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน ด้วยการสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ และการสนทนาอย่างไม่เป็นทางการของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยกับครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย จำนวน 4 คน แหล่งข้อมูล/กลุ่มเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยขั้นตอนที่ 2 ได้แก่ การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในขั้นตอนที่ 1 ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ในการตรวจสอบความเหมาะสม/สอดคล้อง และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 30 คน ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง แหล่งข้อมูล/กลุ่มตัวอย่างตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยขั้นตอนที่ 3 และ 4 ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาล ๔ หนองแคอนุสรณ์ สังกัดกองการศึกษาเทศบาลตำบลหนองแค อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี จำนวน 32 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling ) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) คู่มือการใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย และ5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปและการคิดวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) สถิติที่ใช้ได้แก่การหาค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าที (t-test dependent )


ผลการวิจัย
1.    ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า ข้อมูลพื้นฐานโดยภาพรวมมีความเหมาะสม/สอดคล้องและเพียงพอกับการศึกษา เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 1 โดยจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มีเป้าหมายการของการศึกษา ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาเต็มตามศักยภาพ โดยเน้นทักษะการอ่านและการเขียนและจากความคิดเห็นของนักเรียน พบว่า ต้องการให้จัดการเรียนรู้ที่มีเนื้อหาไม่ซับซ้อนเป็นเรื่องที่เข้าใจง่ายและกิจกรรมการเรียนรู้ที่ได้ร่วมกันคิดร่วมกันฝึกปฏิบัติ ในส่วนของรองผู้อำนวยการสถานศึกษามีความคิดเห็นว่า การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนควรเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และความคิดเห็นของครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยกับครูผู้สอนภาษาไทย พบว่า แนวทางในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยควรฝึกทักษะการเขียนอย่างสร้างสรรค์ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดอย่างอิสระ
2.    ผลการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า รูปแบบการเรียนการสอน (ERPE Model ) ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยกระบวนการเรียนรู้ 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 กระตุ้นเตรียมความพร้อม (Encouragement: E) ขั้นตอนที่ 2 การสะท้อนความคิด (Roflection: R) ขั้นตอนที่ 3 การฝึกปฏิบัติ (Practice: P) ซึ่งประกอบด้วย 1) การสร้างแรงจูงใจ 2) การแลกเปลี่ยนความคิด 3) การร่างข้อมูล 4) ทบทวนปรับปรุง และ 5) นำเสนอผลงาน ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผล (Evaluation: E) มีความเหมาะสม/สอดคล้องตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ 5 คน โดยมีค่าความเหมาะสมสอดคล้องมีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.88 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 0.32 และจากการหาประสิทธิภาพโดยนำไปทดลองใช้ (Tyout) กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน พบว่า มีประสิทธิภาพ ( E1/E2 ) เท่ากับ 83.12/85.07 เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 2
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (ERPE Model) พบว่า จากการนำรูปแบบการเรียนการสอน (ERPE Model ) ไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาล ๔ หนองแคอนุสรณ์ สังกัดกองการศึกษาเทศบาลตำบลหนองแค อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี จำนวน 32 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling ) ใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม (Sampling Unit ) หลังการเรียนการสอนนักเรียนมีความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าการทดสอบที ( t-test dependent ) เท่ากับ 30.612 โดยก่อนเรียนมีคะแนนเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 7.13 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.78 และหลังเรียนเท่ากับ 13.45 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.31 เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 3 และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าการทดสอบที ( t-test dependent ) เท่ากับ 41.157 โดยมีคะแนนเฉลี่ย ( ) ก่อนเรียน เท่ากับ 14.78 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.65 และหลังเรียนเท่ากับ 27.00 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.88 เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 4     
4. ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (ERPE Model) พบว่า หลังการจัดการเรียนการสอนนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอนในภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก โดยมีคะแนนเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 2.88 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.11 เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 5
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^