การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เรื่อง ภูมิศาสตร์น่ารู้ วิชาสังคม
และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้
แบบบูรณาการ (S-PACKAGE)
ผู้วิจัย นางณัฐธยาน์ ดีบุญมี ณ ชุมแพ
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนโนนหันวิทยายน
อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น
ปีที่วิจัย 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ภูมิศาสตร์น่ารู้ วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (S-PACKAGE) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ภูมิศาสตร์น่ารู้ วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (S-PACKAGE) 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ภูมิศาสตร์น่ารู้ วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (S-PACKAGE) และ 4) เพื่อศึกษาความคงทนในการจำของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ภูมิศาสตร์น่ารู้ วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ(S-PACKAGE) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 ของโรงเรียนโนนหันวิทยายน อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่นที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 32 คน ได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้สาระการเรียนรู้ภูมิศาสตร์ โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ(S-PACKAGE) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปที่ 1 จำนวน 7 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระการเรียนรู้ภูมิศาสตร์ จำนวน 30 ข้อ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้สาระการเรียนรู้สาระการเรียนรู้ภูมิศาสตร์ โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ(S-PACKAGE) จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบสมมติฐานแบบ t-test Dependent
สรุปผลการวิจัย
จากการดำเนินงานตามขั้นตอนการวิจัยที่ได้นำเสนอ ปรากฏผลการวิจัยดังนี้
1. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ภูมิศาสตร์น่ารู้ วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (S-PACKAGE) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 มีผลการประเมินประสิทธิภาพด้านกระบวนการ (E1) ได้ค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 85.13 และผลการประเมินประสิทธิภาพด้านผลลัพธ์(E2)ได้ค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 84.44 ดังนั้นค่าประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 85.13/84.44 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้คือ 80/80 แสดงว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้ แบบบูรณาการ (S-PACKAGE) นี้สามารถนำไปใช้สอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ภูมิศาสตร์น่ารู้ วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (S-PACKAGE) พบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
3. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (S-PACKAGE) อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายหน่วยการเรียนรู้พบว่า หน่วยที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือหน่วยที่ 5 ภัยธรรมชาติและการระวังภัย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.18 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.84 รองลงมาคือหน่วยที่ 3 ทวีปเอเชีย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.12 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.89 และน้อยที่สุดคือหน่วยที่ 1 แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.87 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.95 นักเรียนส่วนใหญ่มีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (S-PACKAGE)มีส่วนในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีขึ้น
4. ผลการประเมินความคงทนในการจำพบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 หลังจากผ่านไป 2 สัปดาห์ความจำของนักเรียนยังคงหลงเหลืออยู่ในเนื้อหาที่ได้เรียนรู้ไป