การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้สมองเป็นฐาน BPCR
ที่มีต่อความคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัย
ผู้วิจัย นางจตุพร วรรณขาว
ระดับการศึกษา อนุบาลปีที่ 1
ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1)เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้สมองเป็นฐาน BPCR ที่มีต่อความคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัย สำหรับครูผู้สอนระดับปฐมวัย ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองหล่มสัก 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้สมองเป็นฐาน BPCR ที่มีต่อความคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัย 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้สมองเป็นฐาน BPCR ที่มีต่อความคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัย 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้สมองเป็นฐาน BPCR ที่มีต่อความคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัย วิธีการวิจัยดำเนินตามกระบวนการการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มี 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 (research) การศึกษาข้อมลพื้นฐานเกี่ยวกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ ขั้นตอนที่ 2 พัฒนา (development) การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้สมองเป็นฐาน BPCR ที่มีต่อความคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัย ขั้นตอนที่ 3 วิจัย (research) การทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้สมองเป็นฐาน BPCR ที่มีต่อความคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 17 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินกิจกรรมเสริมประสบการณ์ แบบฝึกทักษะท้ายหน่วยการเรียนรู้ แบบทดสอบก่อนเรียนแหลังเรียน ขั้นตอนที่ 4 วิจัย (development) การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้สมองเป็นฐาน BPCR เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัย เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ t-test Dependent
ผลการวิจัย
1.ข้อมูลพื้นฐานรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้สมองเป็นฐาน BPCR ที่มีต่อความคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัย ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นนำ (Brain Gym)
ขั้นวางแผน (Plan)
ขั้นค้นหาคำตอบ (Cooperative Learning)
ขั้นทบทวน (Review)
2. ผลการสร้างและผลการตรวจคุณภาพของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้สมองเป็นฐาน BPCR ที่มีต่อความคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัย พบว่า ผลการประเมินความคิดเห็นผู้เชี่ยวญต่อแผนการจัดประสบการณ์กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้สมองเป็นฐาน BPCR ที่มีต่อความคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยของผู้เชี่ยวชาญ ค่าเฉลี่ยความเหมาะสมของแผนการจัดประสบการณ์กิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เชี่ยวชาญทั้ง 4 ด้าน มีค่าเฉลี่ย 4.81 อยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่ง 1) สาระสำคัญ มีค่าเฉลี่ย 4.93 อยู่ในระดับมากที่สุด 2) จุดประสงค์การเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ย 4.74 อยู่ในระดับมากที่สุด 3) การดำเนินกิจกรรม มีค่าเฉลี่ย 4.86 อยู่ในระดับมากที่สุด 4) การวัดผลประเมินผล มีค่าเฉลี่ย 4.81 อยู่ในระดับมากที่สุด ตามลำดับ
3. ผลการทดลองและผลการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้สมองเป็นฐาน BPCR ที่มีต่อความคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัย แบ่งออกเป็น 2 ตอน ดังนี้
3.1 การประเมินความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลในการทำแบบฝึกท้ายหน่วยการเรียนรู้ หน่วยละ 9 คะแนน ทั้งหมด 10 หน่วยการเรียนรู้ พบว่า นักเรียนมีความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลโดยรวมมีค่าเฉลี่ยคะแนนสูงสุด 8.53 อยู่ในระดับดีมาก และคะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุด 7.71 อยู่ในระดับดีมาก
3.2 ผู้วิจัยได้ทำการทดลองใช้แผนการจัดประสบการณ์กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดย
ใช้สมองเป็นฐาน BPCR ที่มีต่อความคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัย ผู้วิจัยได้ทำการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนวัดความสามารถในการคิดเชิงเหตุผล พบว่า ค่าเฉลี่ยหลังเรียนโดยใช้แผนการจัดประสบการณ์กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้สมองเป็นฐาน BPCR มีค่าเฉลี่ย 24.77 สูงกว่าก่อนเรียนโดยใช้แผนการจัดประสบการณ์กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้สมองเป็นฐาน BPCR มีค่าเฉลี่ย 15.65 ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังเรียน พบว่า นักเรียนมีความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้สมองเป็นฐาน BPCR ที่มีต่อความคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัย พบว่า มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 2.89 มีความพึงพอใจในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ทุกข้อมีความพอใจในระดับมาก ซึ่ง 1) นักเรียนอยากให้จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบนี้ ระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 3.00 2) นักเรียนชอบทำกิจกรรมด้วยตนเอง มีค่าเฉลี่ย 2.94 3) นักเรียนรู้สึกอย่างไรเมื่อทำกิจกรรม Brain Gym และนักเรียนมีความสุขและสนุกกับการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ย 2.88 4) นักเรียนชอบทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน มีค่าเฉลี่ย 2.76 ตามลำดับ