การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ รายวิชาวิทยาการคำนวณ
ชื่อผู้วิจัย อิสเรศ บูหา
ปีที่ศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา คือ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบ การจัดการเรียนรู้ รายวิชาวิทยาการคำนวณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ รายวิชาวิทยาการคำนวณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ รายวิชาวิทยาการคำนวณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 38 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ รายวิชาวิทยาการคำนวณ
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน คู่มือการจัดการเรียนรู้ รายวิชาวิทยาการคำนวณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน แบบวัดและแบบประเมินความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ ค่าสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D. และค่าทีแบบไม่อิสระ (t - test dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการศึกษา พบว่า
1. ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ รายวิชาวิทยาการคำนวณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านสะเตง) เท่ากับ 81.07/82.03 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ 80/80 ซึ่งสอดคล้องกับสมมุติฐานการวิจัยข้อที่ 1
2. การเปรียบเทียบผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ รายวิชาวิทยาการคำนวณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านสะเตง) พบว่า นักเรียนมีความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและความสามารถด้านการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์
สูงกว่าก่อนใช้รูปแบบจัดการเรียนรู้ รายวิชาวิทยาการคำนวณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยใช้ปัญหาเป็นฐานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งยอมรับสมมติฐานการวิจัยข้อ 2
2.1 ผลจากการวิเคราะห์ความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ รายวิชาวิทยาการคำนวณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน พบว่า โดยภาพรวมนักเรียนมีความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณอยู่ในระดับมาก ซึ่งยอมรับสมมติฐานการวิจัยข้อ 2
2.2 ผลการวิเคราะห์ความสามารถด้านการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ รายวิชาวิทยาการคำนวณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน พบว่า โดยภาพรวมนักเรียนมีความสามารถด้านการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์อยู่ในระดับมาก ซึ่งยอมรับสมมติฐานการวิจัยข้อ 2
3. ความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ รายวิชาวิทยาการคำนวณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยใช้ปัญหาเป็นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านสะเตง) พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งยอมรับสมมติฐานการวิจัยข้อ 3