การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ รายวิชาภาษาไทย ท32101 สำหรับนักเรี
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
หน่วยงาน โรงเรียนพิบูลมังสาหาร องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี
ปีที่จัดทำ 2563
บทคัดย่อ
การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ รายวิชาภาษาไทย ท32101 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ รายวิชาภาษาไทย ท32101 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของ การจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ รายวิชาภาษาไทย ท32101 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) เปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ รายวิชาภาษาไทย ท32101 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ รายวิชาภาษาไทย ท32101 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5/4 ที่เรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร อำเภอพิบูลมังสาหาร องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 38 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม ใช้รูปแบบ Pre-test Post-test Design เครื่องมือที่ใช้ประกอบการรายงาน ประกอบด้วย 1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ รายวิชาภาษาไทย ท32101 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 6 หน่วย 2)แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) จำนวน 6 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ รายวิชาภาษาไทย ท32101 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบ t-test dependent
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ รายวิชาภาษาไทย ท32101 สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 81.53/83.88 มีค่าประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
2. การหาค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ รายวิชาภาษาไทย ท32101 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ 0.7637 ซึ่งแสดงว่าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ รายวิชาภาษาไทย ท32101 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ทั้ง 6 หน่วย ทำให้นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 76.37
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ รายวิชาภาษาไทย ท32101 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน
สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ รายวิชาภาษาไทย ท32101 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.94, S.D. = 0.29)